Breaking News

อว. เผยฉีดวัคซีนของไทย ณ วันที่ 15 มีนาคม 2565 ฉีดวัคซีนแล้ว 126,267,971 โดส และทั่วโลกแล้ว 11,017 ล้านโดส ใน 205 ประเทศ/เขตปกครอง ส่วนอาเซียนฉีดแล้วทุกประเทศ รวมกันกว่า 1,001.1ล้านโดส


➡️(15 มีนาคม 2565) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยข้อมูลสถิติการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลกแล้ว 11,017 ล้านโดส ใน 205 ประเทศ/เขตปกครอง โดยขณะนี้อัตราการฉีดล่าสุดรวมกันทั่วโลกที่ 21.2 ล้านโดสต่อวัน และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีจำนวนการฉีดวัคซีนสูงที่สุดที่ 557 ล้านโดส โดยมีชาวอเมริกันกว่า 217 ล้านคนได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว"

ด้านอาเซียนขณะนี้ทุกประเทศได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้ว มียอดรวมกันที่ประมาณ 1,001,1 ล้านโดส โดยบรูไนฉีดวัคซีนในสัดส่วนประชากรมากที่สุดในภูมิภาค (95% ของประชากร) ในขณะที่อินโดนีเซียฉีดวัคซีนในจำนวนมากที่สุดที่ 360.2 ล้านโดส สำหรับประเทศไทยข้อมูล ณ วันที่ 15 มีนาคม 2565 ได้ฉีดวัคซีนแล้วกว่า 126,267,971 โดส

🌏 ในการฉีดวัคซีน จำนวน 11,017 ล้านโดสนี้ อว. ขอรายงานสถิติที่สำคัญ คือ


1. ข้อมูลการฉีดวัคซีนล่าสุดของประเทศไทย ณ วันที่ 15 มีนาคม 2565

    จำนวนการฉีดวัคซีนสะสม 126,267,971 โดส ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น
        - เข็มแรก 54,453,850 โดส (82.3% ของประชากร)
        - เข็มสอง 50,002,849 โดส (75.5% ของประชากร)
        - เข็มสาม 21,811,272 โดส (33% ของประชากร)



2. อัตราการฉีดวัคซีนตั้งแต่ 28 ก.พ. 64 – 15 มี.ค. 65 พบว่า ประเทศไทยฉีดวัคซีนแล้ว 126,267,971 โดส ฉีดเพิ่มขึ้น 109,592 โดส (อัตราการฉีดล่าสุดเฉลี่ย 3 วันย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. 64 ซึ่งเป็นการฉีดวัคซีนวาระแห่งชาติ 175,914 โดส/วัน



3. อัตราการฉีดวัคซีน ประกอบด้วย

    วัคซีน Sinovac
        - เข็มที่ 1 22,909,697 โดส
        - เข็มที่ 2 3,599,894 โดส
        - เข็มที่ 3 0 โดส
    วัคซีน AstraZeneca
        - เข็มที่ 1 13,933,923 โดส
        - เข็มที่ 2 28,503,018 โดส
        - เข็มที่ 3 5,194,093 โดส
    วัคซีน Sinopharm
        - เข็มที่ 1 7,553,909 โดส
        - เข็มที่ 2 7,245,994 โดส
        - เข็มที่ 3 0 โดส
    วัคซีน Pfizer
        - เข็มที่ 1 9,294,088 โดส
        - เข็มที่ 2 9,780,855 โดส
        - เข็มที่ 3 13,203,351 โดส
    วัคซีน Moderna
        - เข็มที่ 1 762,233 โดส
        - เข็มที่ 2 873,088 โดส
        - เข็มที่ 3 3,413,828 โดส



4. ในภูมิภาคอาเซียน ได้ฉีดวัคซีนแล้วครบ 10 ประเทศ รวมจำนวน 1,001,181,967 โดส ได้แก่

     1. อินโดนีเซีย จำนวน 360,250,837 โดส (70.2%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, AstraZeneca, Moderna และ Sinopharm
     2. เวียดนาม จำนวน 200,368,920 โดส (81.8%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca, Pfizer, Moderna และ Sinopharm
     3. ฟิลิปปินส์ จำนวน 138,008,339 โดส (56.8%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, Pfizer, Sputnik V, Moderna, J&J และ AstraZeneca
     4. ไทย จำนวน 126,267,971 โดส (82.3%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, Sinovac, AstraZeneca และ Sinopharm
     5. มาเลเซีย จำนวน 68,214,783 โดส (83.7%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, AstraZeneca และ Sinovac
     6. พม่า จำนวน 46,247,597 โดส (45.4%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm
     7. กัมพูชา จำนวน 37,405,490 โดส (87.3%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, AstraZeneca, J&J และ Sinovac
     8. สิงคโปร์ จำนวน 13,651,279 โดส (92%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, Moderna และ Sinovac
     9. ลาว จำนวน 9,725,141 โดส (72.5%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, Sputnik V, Pfizer, J&J, Sinovac และ AstraZeneca
     10. บรูไน จำนวน 1,041,610 โดส (95%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm

* คำนวณจากจำนวนฉีด/จำนวนประชากร อย่างน้อย 1 เข็ม



5. จำนวนการฉีดวัคซีนแยกตามภูมิภาค
     1. เอเชียและตะวันออกกลาง 69.70%
     2. ยุโรป 10.03%
     3. อเมริกาเหนือ 8.54%
     4. ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน 7.19%
     5. แอฟริกา 3.91%
     6. โอเชียเนีย 0.62%



6 ประเทศที่ฉีดวัคซีนแล้วมากที่สุด 5 ประเทศลำดับแรกที่ฉีดวัคซีนมากกว่า 100 ล้านโดส รวมกันเกือบ 70% ของปริมาณการฉีดวัคซีนทั่วโลก
     1. จีน จำนวน 3,193.24 ล้านโดส (225.8% ของจำนวนโดสที่ฉีดต่อประชากร)
     2. อินเดีย จำนวน 1,803.04 ล้านโดส (130.8%)
     3. สหรัฐอเมริกา จำนวน 556.82 ล้านโดส (166.1%)
     4. บราซิล จำนวน 402.57 ล้านโดส (190.1%)
     5. อินโดนีเซีย จำนวน 360.25 ล้านโดส (130.6%)



7. ประเทศที่ฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรมากที่สุด มี 10 ประเทศที่ฉีดวัคซีนให้กับประชากรอย่างน้อย 25% แล้ว ได้แก่ (เฉพาะประเทศที่มีประชากรมากกว่า 500,000 คน)
     1. คิวบา (310.2%) (ฉีดวัคซีนของ Abdala และ Soberana02)
     2. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (262%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaleya)
     3. ชิลี (255.6%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, CanSino, Pfizer/BioNTech และ Sinovac)
     4. มัลดีฟส์ (241.3%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech และ Sinopharm)
     5. กาตาร์ (241.3%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer และ Moderma)
     6. บรูไน (236.2%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford และ Sinopharm)
     7. ฝรั่งเศส (235%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech, Moderna, J&J และ AstraZeneca/Oxford)
     8. เกาหลีใต้ (234.5%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech J&J AstraZeneca/Oxford และ Moderna)
     9. สิงคโปร์ (231.9%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech Moderna และ Sinovac)
     10. บาห์เรน (231.7%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaley)

แหล่งข้อมูล Bloomberg Vaccine Tracker, กระทรวงสาธารณสุข
ประมวลข้อมูลโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)



ไม่มีความคิดเห็น