Breaking News

สมาคมแพทย์ผิวหนังฯ เชิญรับชมเพจเฟซบุ๊ก “ครบเครื่องเรื่องผิวหนัง” EP.8 ตอน “มะเร็งผิวหนัง”


สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยหรือ DST
ตระหนักที่จะทำหน้าที่เพื่อตอบแทนสังคมและเผยแพร่และทำการรักษาและให้ความรู้กับประชาชนทั่วประเทศ ขอเชิญประชาชนและผู้สนใจทั่วไป เข้าชม Facebook Live ผ่าน เพจเฟซบุ๊ก “ครบเครื่องเรื่องผิวหนัง” ใน... EP.8 ตอน “มะเร็งผิวหนัง” ในวันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม 2564 เวลา 15.00 -16.00 น. โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรที่มีชื่อเสียง 2 ท่าน ได้แก่ รศ.พญ.รังสิมา วณิชภักดีเดชา ประชาสัมพันธ์สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยและผศ.พญ.มาริษา พงศ์พฤฒิพันธ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย เป็นวิทยากรรับเชิญ โดยมี ผศ.พญ.สุเพ็ญญา วโรทัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินรายการ

มะเร็งผิวหนัง พบได้บ่อยมากในชาวตะวันตก โดยเฉพาะผู้ที่ชอบทำกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น อาบแดด แต่สำหรับคนไทยหรือคนเอเชียทั่วไป ปัญหามะเร็งผิวหนังพบอุบัติการณ์ที่ต่ำมากเนื่องจากคนไทยมีผมดำ ตาดำ มีเมลานินช่วยในการกรองแสงแดดและไม่ชอบกิจกรรมกลางแจ้งหรือผิวสีแทน นอกจากนี้ผิวหนังเป็นอวัยวะที่อยู่ภายนอกสุด จึงสามารถมองเห็นรอยโรคได้รวดเร็วและชัดเจน กว่ามะเร็งที่อวัยวะอื่น ๆ 

สำหรับมะเร็งผิวหนังมี 3 ชนิด มักพบบริเวณผิวหนังที่ถูกแสงแดดเสมอ เช่น ใบหน้า ริมฝีปากล่าง แขนด้านนอก หน้าอก หลัง ชนิดที่ 1. พบได้มากที่สุด เกิดจากเซลล์ผิวหนังล่างสุดของหนังกำพร้า เรียกว่า Basal Cell Carcinoma ลักษณะเป็นตุ่มแข็งสีเหมือนผิวหนังหรือสีดำ โตช้า หากมีขนาดใหญ่อาจมีแผลตรงกลาง ชนิดที่ 2. เกิดจากผิวหนังชั้นหนังกำพร้าส่วนบน เรียกว่า Squamous Cell Carcinoma อาจมีลักษณะเป็นตุ่มนูนหรือเป็นแผลตื้นขยายออกช้า ๆ ชนิดที่ 3. เกิดจากเซลล์สีดำหรือไฝขนาดใหญ่ที่มีมาแต่กำเนิด เรียกว่า Melanoma เป็นชนิดที่มักกระจายได้เร็วจึงอันตรายกว่า 2 ชนิดแรก และพบได้น้อยที่สุดในมะเร็งผิวหนังทั้งหมด คนไทยพบประมาณ 0.5 คนต่อประชากร 100,000 คน มักพบบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า ซอกนิ้ว ใต้เล็บ ดังนั้นหากมีตุ่มนูนหรือแผลเรื้อรังนานกว่า 6 เดือน ควรมาพบแพทย์และหากมีไฝหรือจุดดำบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า ซอกนิ้ว ขนาดใหญ่กว่า 0.5 ซม. ควรมาพบแพทย์เช่นกัน


ไม่มีความคิดเห็น