ยกระดับการดูแลสุขอนามัยในพื้นที่ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ด้วยศูนย์ปฐมพยาบาลของคนในชุมชน
เพราะความเจ็บป่วยเป็นเรื่องที่รอไม่ได้ และความเร่งด่วนของคนเราไม่เท่ากัน “ศูนย์ปฐมพยาบาล” อาจจะดูไม่มีความจำเป็นเท่าไรนัก หากเราอยู่อาศัยในเขตเมือง หรือชุมชนใหญ่ แต่สำหรับบางพื้นที่ที่ห่างไกลออกไปอีกหลายแห่งทั่วประเทศ ศูนย์ปฐมพยาบาลของชุมชนคือที่พึ่งพาแห่งแรกยามเจ็บป่วย เพราะอาการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อย อาจนำไปสู่อันตรายถึงชีวิตได้ หากไม่ได้รับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น หรือได้รับความรู้ในการใช้ยาและดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี
แม้ศูนย์ปฐมพยาบาลจะมีบทบาทสำคัญอย่างมากในชุมชน แต่ก็มีหลายแห่งที่ถูกทิ้งร้างว่างเปล่า ในขณะที่บางแห่งก็มีความแออัด ดูแลผู้ป่วยได้ไม่เพียงพอกับความต้องการ ไม่มีแม้แต่ยาสามัญประจำบ้านเพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น ดังนั้นการจะสร้างศูนย์พยาบาลที่เหมาะสมกับการใช้งานและเหมาะสมกับชุมชนจึงต้องประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง ดังตัวอย่างกรณีศึกษาความสำเร็จของศูนย์ปฐมพยาบาลชุมชน โรงเรียนกลุ่มนักข่าวหญิง 2 (บ้านบ่อหวี) อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ซึ่งเป็นหนึ่งในรูปธรรมของการดำเนินงานสร้างสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อผู้คนในสังคม ตามนโยบายการดำเนินงานตลอด 20 ปี ของมูลนิธิไฟเซอร์ประเทศไทย ที่ได้ร่วมมือกับมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทยในการแสวงหาพื้นที่ที่มีความจำเป็น เหมาะสม และมีความพร้อม เพื่อสร้างศูนย์ปฐมพยาบาลชุมชนแห่งนี้เป็นแห่งแรกเมื่อปี 2562 ด้วยเป้าหมายนอกจากจะเป็นพื้นที่สำหรับการรักษาพยาบาลเบื้องต้นแล้ว ยังเป็นสถานที่ให้ความรู้ด้านสุขอนามัยของคนในชุมชน
จำเป็นแต่ขาดแคลน เป็น Pain Point สำคัญ
นายเปลว ปุริสาร ผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มนักข่าวหญิง2 (บ้านบ่อหวี) เล่าถึงปัญหาความขาดแคลน ก่อนจะมีการสร้างศูนย์ปฐมพยาบาลฯ แห่งนี้ว่า “ก่อนหน้านี้โรงเรียนมีห้องพยาบาลซึ่งมีเพียง 1 เตียง อุปกรณ์การรักษาและยาก็มีไม่มาก ในขณะที่เรามีนักเรียนจำนวน 302 คน ที่เป็นทั้งชาวไทยและกลุ่มชนกะเหรี่ยงเผ่าโปว์ เมื่อเด็ก ๆ เกิดอุบัติเหตุหรือมีอาการเจ็บป่วยจึงไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึง มีโรงพยาบาลใหญ่คือโรงพยาบาลสวนผึ้ง ซึ่งอยู่ห่างจากชุมชน ในระยะทางไป-กลับกว่า 60 กิโลเมตร ผู้ปกครองไม่มีรถในการพาเด็ก ๆ ไปหาหมอ และเนื่องจากโรงเรียนตั้งอยู่ในป่า จึงพบปัญหาไข้เลือดออกสูง โดยในปี 2557 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกสูงเป็นอันดับ 4 ของประเทศ นอกจากนี้ยังมีการตรวจพบโรคมาลาเรีย และโรคชิคุนกุนยาด้วย
“เมื่อปี 2562 ทางมูลนิธิไฟเซอร์ประเทศไทยและมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทยได้เข้ามาร่วมพูดคุยถึงแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าว พร้อมมอบศูนย์ปฐมพยาบาลชุมชน (Pfizer First-aid Center) ให้กับโรงเรียน จนถึงตอนนี้เป็นระยะเวลา 1 ปีกว่า เห็นได้ชัดเจนว่าสุขภาพอนามัยของเด็กนักเรียนดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะช่วยเรื่องการดูแลรักษาได้ทันท่วงที แต่หากเด็กมีอาการหนักโรงเรียนจะรีบติดต่อไปที่ รพ.สต. ให้เข้ามาช่วยดูแล”
ตอบโจทย์ชุมชนและคนรักษา
นางสาวรุ่งลาวัลย์ ทองลิ่ม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.สต.บ้านบ่อหวี เล่าว่า “ศูนย์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น ทำให้การบริหารจัดการด้านสุขภาพนักเรียนของเจ้าหน้าที่พยาบาลจาก รพ.สต.สะดวกมากขึ้นเมื่อจะต้องลงพื้นที่ โดยเฉพาะในสถานการณ์ของโควิด-19 จากเดิมที่ต้องเดินตรวจตามห้องเรียนทำให้รบกวนเวลาเรียนของห้องใกล้เคียง ก็สามารถตรวจสุขภาพนักเรียนได้ทีละห้องอย่างเป็นระเบียบในสถานที่ที่เหมาะสม นอกจากนี้ การมีศูนย์ฯ นั้นช่วยแบ่งเบาปริมาณคนไข้ของ รพ.สต.ได้มาก สำหรับคนไข้ที่ไม่ได้มีอาการหนัก อย่างโรคทางเดินหายใจหรือไข้หวัด การประสบอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย และโรคผิวหนังที่มักจะเกิดขึ้นกับเด็ก ๆ คุณครูประจำศูนย์ปฐมพยาบาลจะสามารถช่วยดูแลได้ก่อน ซึ่งที่นี่มีเตียงคนไข้ 4 เตียง ยาสามัญประจำบ้าน และเครื่องมือปฐมพยาบาลเบื้องต้น ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางมาที่โรงพยาบาลที่ในแต่ละวันมีคนไข้จำนวนมาก”
เข้าถึงและทั่วถึง
การสร้างศูนย์ปฐมพยาบาลที่โรงเรียนแห่งนี้ ทำให้นักเรียนในโรงเรียนสามารถเข้าถึงปฐมพยาบาลได้อย่างทันท่วงที ดังที่ ด.ญ. พรทิพา โฉมยง หรือ น้องมายด์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เช่นเดียวกัน เล่าถึงการใช้ศูนย์ฯ ว่า “เมื่อก่อนมักจะได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาอยู่บ่อยครั้ง ทำให้ต้องมาที่ห้องพยาบาล โดยมีคุณครูทำแผลให้เบื้องต้น แต่จะพบปัญหายารักษาที่ไม่เพียงพอ รวมถึงเตียงนอนพักฟื้นที่มีไว้สำหรับคนที่มีอาการหนักมากเพราะมีแค่เตียงเดียว ทำให้ต้องเดินทางกลับไปรักษาตัวต่อที่บ้านซึ่งมีระยะทางไกลจากโรงเรียนมาก และไม่มีคนคอยดูแลที่บ้านเพราะผู้ปกครองออกไปทำงาน ต่างจากปัจจุบันที่มีศูนย์ปฐมพยาบาลขนาดใหญ่ พร้อมยารักษาและอุปกรณ์ที่เพียงพอ ทำให้สามารถรักษาตัวที่นี่ได้เลย”
ไม่เพียงแต่นักเรียนที่ได้รับประโยชน์เท่านั้น เพราะด้วยความที่โรงเรียนกลุ่มนักข่าวหญิง 2 (บ้านบ่อหวี) ตั้งอยู่ใกล้ชายแดนไทยพม่า ศูนย์ปฐมพยาบาลแห่งนี้จึงมีผู้ปกครองนักเรียนที่เป็นชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงมาใช้บริการยามเจ็บไข้ได้ป่วย
ด.ญ. ลลิตา คำภาวะ หรือ น้องวี่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่าว่า “มาใช้ศูนย์ปฐมพยาบาลเวลามีอาการปวดหัว เป็นไข้ โดยได้ครูประจำห้องพยาบาลคอยดูแล เพียงพอต่อความต้องการมากขึ้น ไม่เพียงแค่เพื่อน ๆ ที่เป็นนักเรียนไทยเท่านั้น แต่เพื่อน ๆ ที่มีผู้ปกครองเป็นชาวไทยกะเหรี่ยง ก็มักจะมาขอยาสามัญจากศูนย์ปฐมพยาบาลแห่งนี้ไปให้ครอบครัวเวลาเจ็บป่วย เพราะไม่สามารถไปใช้สิทธิ์การรักษาในโรงพยาบาลได้ นอกจากมีอาการหนักจริง ๆ จึงจะยอมไปโรงพยาบาล”
การสร้างศูนย์ปฐมพยาบาล ณ พื้นที่แห่งนี้ ที่สามารถให้บริการแก่คนไทยในพื้นที่และชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่จำนวนมาก จึงมีคุณค่าต่อผู้ที่ขาดโอกาสเข้าถึงการดูแลสุขอนามัยโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ
คุณค่าที่มากกว่าห้องพยาบาล
ศูนย์ปฐมพยาบาลแห่งนี้ไม่ได้เป็นเพียงห้องพยาบาลเท่านั้น แต่ยังถูกใช้เป็นสถานที่ตรวจสุขภาพของเด็ก ๆ รวมถึงจัดกิจกรรมให้ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพอนามัย โดยทาง รพ.สต.จะมาให้ความรู้ที่ มุ่งเน้นสร้างพฤติกรรมการป้องกันโรคให้เป็นอุปนิสัย อาทิ สวมหน้ากากอนามัยเป็นประจำทุกวัน ล้างมือทุกครั้งที่สัมผัสสิ่งของ ก่อนและหลังรับประทานอาหาร ซึ่งนักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปบอกต่อให้ผู้ปกครองได้รู้ถึงวิธีในการดูแลตัวเองด้วย โดยในอนาคตจะมีการสร้างบุคลากรที่สามารถให้ความรู้ รวมถึงการพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ส่งเสริมด้านสุขภาพอนามัยให้แก่คนในชุมชนเพิ่มเติมต่อไป
นอกจากนี้ ศูนย์ปฐมพยาบาลแห่งนี้นับเป็นตัวแทนของความร่วมมือจากหลายภาคส่วนที่เห็นเป็นรูปธรรม เพราะถึงแม้มูลนิธิไฟเซอร์ประเทศไทย และมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทยจะเป็นผู้สนับสนุนและดำเนินโครงการ แต่หากสร้างไว้แล้วไม่ได้รับการดูแล ต่อยอด และใช้งานโดยผู้คนในชุมชน อาคารแห่งนี้ก็จะเป็นเพียงอาคารที่ถูกทิ้งร้าง ไม่มีประโยชน์ใช้สอย แต่สำหรับศูนย์ปฐมพยาบาลที่โรงเรียนกลุ่มนักข่าวหญิง 2 (บ้านบ่อหวี) แห่งนี้ หลังจากเปิดให้บริการมาแล้ว 1 ปีเศษ แต่มีผู้เข้ามาใช้บริการอยู่ตลอด ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน คุณครู ผู้ปกครอง ได้รับการต่อยอดประโยชน์ใช้สอยโดยเจ้าหน้าที่จาก รพ.สต. และ ผู้นำชุมชน ให้เป็นศูนย์กลางการดูแลสุขอนามัยของชุมชน และมีผู้คนในชุมชนคอยดูแลรักษา ทำให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนว่า เมื่อชุมชนเห็นถึงคุณค่าและความสำคัญ ศูนย์ปฐมพยาบาลแห่งนี้จึงได้ใช้ประโยชน์ และตอบสนองความต้องการของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความสำเร็จของศูนย์ปฐมพยาบาลชุมชน โรงเรียนกลุ่มนักข่าวหญิง 2 (บ้านบ่อหวี) อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี (Pfizer First-Aid Center) เกิดจากการวิเคราะห์ความต้องการที่แท้จริงของคนในชุมชน และหยิบยื่นในสิ่งที่เกิดประโยชน์ได้จริง ทำให้ทางมูลนิธิไฟเซอร์ประเทศไทยและมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทยเตรียมนำโมเดลนี้ขยายการจัดสร้างเพิ่มเติมในโรงเรียนที่ห่างไกล อีก 9 แห่งภายในระยะเวลา 3 ปี ได้แก่ ในจังหวัดอุทัยธานี, ระนอง, บุรีรัมย์, เชียงใหม่ (2 โรงเรียน), พังงา, เพชรบุรี, จันทบุรี และสตูล เพื่อเป็นศูนย์กลางการดูแลด้านสุขอนามัย เป็นศูนย์กลางการให้ความรู้ การอบรมและปฏิบัติจริง เพื่อให้นักเรียน บุคลากรในโรงเรียน รวมถึงคนในชุมชนสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพอย่างทั่วถึง ดังปณิธานตลอดระยะเวลา 20 ปีของมูลนิธิไฟเซอร์ประเทศไทยที่ต้องการให้คนไทยมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
แม้ศูนย์ปฐมพยาบาลจะมีบทบาทสำคัญอย่างมากในชุมชน แต่ก็มีหลายแห่งที่ถูกทิ้งร้างว่างเปล่า ในขณะที่บางแห่งก็มีความแออัด ดูแลผู้ป่วยได้ไม่เพียงพอกับความต้องการ ไม่มีแม้แต่ยาสามัญประจำบ้านเพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น ดังนั้นการจะสร้างศูนย์พยาบาลที่เหมาะสมกับการใช้งานและเหมาะสมกับชุมชนจึงต้องประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง ดังตัวอย่างกรณีศึกษาความสำเร็จของศูนย์ปฐมพยาบาลชุมชน โรงเรียนกลุ่มนักข่าวหญิง 2 (บ้านบ่อหวี) อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ซึ่งเป็นหนึ่งในรูปธรรมของการดำเนินงานสร้างสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อผู้คนในสังคม ตามนโยบายการดำเนินงานตลอด 20 ปี ของมูลนิธิไฟเซอร์ประเทศไทย ที่ได้ร่วมมือกับมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทยในการแสวงหาพื้นที่ที่มีความจำเป็น เหมาะสม และมีความพร้อม เพื่อสร้างศูนย์ปฐมพยาบาลชุมชนแห่งนี้เป็นแห่งแรกเมื่อปี 2562 ด้วยเป้าหมายนอกจากจะเป็นพื้นที่สำหรับการรักษาพยาบาลเบื้องต้นแล้ว ยังเป็นสถานที่ให้ความรู้ด้านสุขอนามัยของคนในชุมชน
จำเป็นแต่ขาดแคลน เป็น Pain Point สำคัญ
นายเปลว ปุริสาร ผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มนักข่าวหญิง2 (บ้านบ่อหวี) เล่าถึงปัญหาความขาดแคลน ก่อนจะมีการสร้างศูนย์ปฐมพยาบาลฯ แห่งนี้ว่า “ก่อนหน้านี้โรงเรียนมีห้องพยาบาลซึ่งมีเพียง 1 เตียง อุปกรณ์การรักษาและยาก็มีไม่มาก ในขณะที่เรามีนักเรียนจำนวน 302 คน ที่เป็นทั้งชาวไทยและกลุ่มชนกะเหรี่ยงเผ่าโปว์ เมื่อเด็ก ๆ เกิดอุบัติเหตุหรือมีอาการเจ็บป่วยจึงไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึง มีโรงพยาบาลใหญ่คือโรงพยาบาลสวนผึ้ง ซึ่งอยู่ห่างจากชุมชน ในระยะทางไป-กลับกว่า 60 กิโลเมตร ผู้ปกครองไม่มีรถในการพาเด็ก ๆ ไปหาหมอ และเนื่องจากโรงเรียนตั้งอยู่ในป่า จึงพบปัญหาไข้เลือดออกสูง โดยในปี 2557 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกสูงเป็นอันดับ 4 ของประเทศ นอกจากนี้ยังมีการตรวจพบโรคมาลาเรีย และโรคชิคุนกุนยาด้วย
“เมื่อปี 2562 ทางมูลนิธิไฟเซอร์ประเทศไทยและมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทยได้เข้ามาร่วมพูดคุยถึงแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าว พร้อมมอบศูนย์ปฐมพยาบาลชุมชน (Pfizer First-aid Center) ให้กับโรงเรียน จนถึงตอนนี้เป็นระยะเวลา 1 ปีกว่า เห็นได้ชัดเจนว่าสุขภาพอนามัยของเด็กนักเรียนดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะช่วยเรื่องการดูแลรักษาได้ทันท่วงที แต่หากเด็กมีอาการหนักโรงเรียนจะรีบติดต่อไปที่ รพ.สต. ให้เข้ามาช่วยดูแล”
ตอบโจทย์ชุมชนและคนรักษา
นางสาวรุ่งลาวัลย์ ทองลิ่ม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.สต.บ้านบ่อหวี เล่าว่า “ศูนย์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น ทำให้การบริหารจัดการด้านสุขภาพนักเรียนของเจ้าหน้าที่พยาบาลจาก รพ.สต.สะดวกมากขึ้นเมื่อจะต้องลงพื้นที่ โดยเฉพาะในสถานการณ์ของโควิด-19 จากเดิมที่ต้องเดินตรวจตามห้องเรียนทำให้รบกวนเวลาเรียนของห้องใกล้เคียง ก็สามารถตรวจสุขภาพนักเรียนได้ทีละห้องอย่างเป็นระเบียบในสถานที่ที่เหมาะสม นอกจากนี้ การมีศูนย์ฯ นั้นช่วยแบ่งเบาปริมาณคนไข้ของ รพ.สต.ได้มาก สำหรับคนไข้ที่ไม่ได้มีอาการหนัก อย่างโรคทางเดินหายใจหรือไข้หวัด การประสบอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย และโรคผิวหนังที่มักจะเกิดขึ้นกับเด็ก ๆ คุณครูประจำศูนย์ปฐมพยาบาลจะสามารถช่วยดูแลได้ก่อน ซึ่งที่นี่มีเตียงคนไข้ 4 เตียง ยาสามัญประจำบ้าน และเครื่องมือปฐมพยาบาลเบื้องต้น ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางมาที่โรงพยาบาลที่ในแต่ละวันมีคนไข้จำนวนมาก”
เข้าถึงและทั่วถึง
การสร้างศูนย์ปฐมพยาบาลที่โรงเรียนแห่งนี้ ทำให้นักเรียนในโรงเรียนสามารถเข้าถึงปฐมพยาบาลได้อย่างทันท่วงที ดังที่ ด.ญ. พรทิพา โฉมยง หรือ น้องมายด์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เช่นเดียวกัน เล่าถึงการใช้ศูนย์ฯ ว่า “เมื่อก่อนมักจะได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาอยู่บ่อยครั้ง ทำให้ต้องมาที่ห้องพยาบาล โดยมีคุณครูทำแผลให้เบื้องต้น แต่จะพบปัญหายารักษาที่ไม่เพียงพอ รวมถึงเตียงนอนพักฟื้นที่มีไว้สำหรับคนที่มีอาการหนักมากเพราะมีแค่เตียงเดียว ทำให้ต้องเดินทางกลับไปรักษาตัวต่อที่บ้านซึ่งมีระยะทางไกลจากโรงเรียนมาก และไม่มีคนคอยดูแลที่บ้านเพราะผู้ปกครองออกไปทำงาน ต่างจากปัจจุบันที่มีศูนย์ปฐมพยาบาลขนาดใหญ่ พร้อมยารักษาและอุปกรณ์ที่เพียงพอ ทำให้สามารถรักษาตัวที่นี่ได้เลย”
ไม่เพียงแต่นักเรียนที่ได้รับประโยชน์เท่านั้น เพราะด้วยความที่โรงเรียนกลุ่มนักข่าวหญิง 2 (บ้านบ่อหวี) ตั้งอยู่ใกล้ชายแดนไทยพม่า ศูนย์ปฐมพยาบาลแห่งนี้จึงมีผู้ปกครองนักเรียนที่เป็นชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงมาใช้บริการยามเจ็บไข้ได้ป่วย
ด.ญ. ลลิตา คำภาวะ หรือ น้องวี่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่าว่า “มาใช้ศูนย์ปฐมพยาบาลเวลามีอาการปวดหัว เป็นไข้ โดยได้ครูประจำห้องพยาบาลคอยดูแล เพียงพอต่อความต้องการมากขึ้น ไม่เพียงแค่เพื่อน ๆ ที่เป็นนักเรียนไทยเท่านั้น แต่เพื่อน ๆ ที่มีผู้ปกครองเป็นชาวไทยกะเหรี่ยง ก็มักจะมาขอยาสามัญจากศูนย์ปฐมพยาบาลแห่งนี้ไปให้ครอบครัวเวลาเจ็บป่วย เพราะไม่สามารถไปใช้สิทธิ์การรักษาในโรงพยาบาลได้ นอกจากมีอาการหนักจริง ๆ จึงจะยอมไปโรงพยาบาล”
การสร้างศูนย์ปฐมพยาบาล ณ พื้นที่แห่งนี้ ที่สามารถให้บริการแก่คนไทยในพื้นที่และชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่จำนวนมาก จึงมีคุณค่าต่อผู้ที่ขาดโอกาสเข้าถึงการดูแลสุขอนามัยโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ
คุณค่าที่มากกว่าห้องพยาบาล
ศูนย์ปฐมพยาบาลแห่งนี้ไม่ได้เป็นเพียงห้องพยาบาลเท่านั้น แต่ยังถูกใช้เป็นสถานที่ตรวจสุขภาพของเด็ก ๆ รวมถึงจัดกิจกรรมให้ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพอนามัย โดยทาง รพ.สต.จะมาให้ความรู้ที่ มุ่งเน้นสร้างพฤติกรรมการป้องกันโรคให้เป็นอุปนิสัย อาทิ สวมหน้ากากอนามัยเป็นประจำทุกวัน ล้างมือทุกครั้งที่สัมผัสสิ่งของ ก่อนและหลังรับประทานอาหาร ซึ่งนักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปบอกต่อให้ผู้ปกครองได้รู้ถึงวิธีในการดูแลตัวเองด้วย โดยในอนาคตจะมีการสร้างบุคลากรที่สามารถให้ความรู้ รวมถึงการพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ส่งเสริมด้านสุขภาพอนามัยให้แก่คนในชุมชนเพิ่มเติมต่อไป
นอกจากนี้ ศูนย์ปฐมพยาบาลแห่งนี้นับเป็นตัวแทนของความร่วมมือจากหลายภาคส่วนที่เห็นเป็นรูปธรรม เพราะถึงแม้มูลนิธิไฟเซอร์ประเทศไทย และมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทยจะเป็นผู้สนับสนุนและดำเนินโครงการ แต่หากสร้างไว้แล้วไม่ได้รับการดูแล ต่อยอด และใช้งานโดยผู้คนในชุมชน อาคารแห่งนี้ก็จะเป็นเพียงอาคารที่ถูกทิ้งร้าง ไม่มีประโยชน์ใช้สอย แต่สำหรับศูนย์ปฐมพยาบาลที่โรงเรียนกลุ่มนักข่าวหญิง 2 (บ้านบ่อหวี) แห่งนี้ หลังจากเปิดให้บริการมาแล้ว 1 ปีเศษ แต่มีผู้เข้ามาใช้บริการอยู่ตลอด ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน คุณครู ผู้ปกครอง ได้รับการต่อยอดประโยชน์ใช้สอยโดยเจ้าหน้าที่จาก รพ.สต. และ ผู้นำชุมชน ให้เป็นศูนย์กลางการดูแลสุขอนามัยของชุมชน และมีผู้คนในชุมชนคอยดูแลรักษา ทำให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนว่า เมื่อชุมชนเห็นถึงคุณค่าและความสำคัญ ศูนย์ปฐมพยาบาลแห่งนี้จึงได้ใช้ประโยชน์ และตอบสนองความต้องการของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความสำเร็จของศูนย์ปฐมพยาบาลชุมชน โรงเรียนกลุ่มนักข่าวหญิง 2 (บ้านบ่อหวี) อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี (Pfizer First-Aid Center) เกิดจากการวิเคราะห์ความต้องการที่แท้จริงของคนในชุมชน และหยิบยื่นในสิ่งที่เกิดประโยชน์ได้จริง ทำให้ทางมูลนิธิไฟเซอร์ประเทศไทยและมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทยเตรียมนำโมเดลนี้ขยายการจัดสร้างเพิ่มเติมในโรงเรียนที่ห่างไกล อีก 9 แห่งภายในระยะเวลา 3 ปี ได้แก่ ในจังหวัดอุทัยธานี, ระนอง, บุรีรัมย์, เชียงใหม่ (2 โรงเรียน), พังงา, เพชรบุรี, จันทบุรี และสตูล เพื่อเป็นศูนย์กลางการดูแลด้านสุขอนามัย เป็นศูนย์กลางการให้ความรู้ การอบรมและปฏิบัติจริง เพื่อให้นักเรียน บุคลากรในโรงเรียน รวมถึงคนในชุมชนสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพอย่างทั่วถึง ดังปณิธานตลอดระยะเวลา 20 ปีของมูลนิธิไฟเซอร์ประเทศไทยที่ต้องการให้คนไทยมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น