สภา กทมฯ ถกเตะถ่วงรถขยะไฟฟ้า รองฯผู้ว่าฯยันโปร่งใสยื่น ปปช.ทุกสเตป
สภากรุงเทพมหานครทวงถามความคืบหน้าการเช่ารถเก็บขยะไฟฟ้า ขณะที่ฝ่ายบริหาร กทม.มั่นใจจัดหารถทดแทนได้ทันตามสัญญา แอ่นอกรับดำเนินงานล่าช้าจริงแต่ไม่ได้เตะถ่วงหรือเอื้อประโยชน์ใคร ยอมรับมีอดีตบิ๊ก กทม.ต่อสายคุย ย้ำพร้อมส่งเอกสารทุกชิ้นให้ ป.ป.ช.ตรวจสอบความบริสุทธิ์
จากการประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยประชุมสามัญ สมัยแรก (ครั้งที่ 4) ประจำปี พ.ศ.2567 ที่อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 (ดินแดง) เมื่อเร็วๆนี้ นายพุทธิพัชร์ ธันยาธรรมนนท์ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) เขตยานนาวา ได้ตั้งกระทู้ถามสดติดตามผลการดำเนินงานโครงการเช่ารถเก็บมูลฝอยพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นโครงการจัดหารถมาทดแทนรถเก็บมูลฝอยเดิมของสำนักงานเขตต่างๆ ที่จะหมดสัญญาเช่าในช่วงปลายปี 2567 จำนวน 842 คัน วงเงินงบประมาณ 3,993,761,463 บาท ซึ่งผู้บริหาร กทม.เคยแจ้งต่อ สภา กทม.ว่าจะดำเนินการลงนามในสัญญาจ้างได้ภายในสิ้นปี 2566 และส่งมอบรถได้ในเดือน พ.ค.2567 แต่กลับไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผน
นายพุทธิพัชร์ กล่าว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ลงพื้นที่เฝ้าระวังโครงการเช่ารถเก็บมูลฝอยพลังงานไฟฟ้าของ กทม. จึงขอตั้งกระทู้ด่วนสอบถามว่าจะแล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์เมื่อไหร่ อย่างไร เพราะมีการขยายเวลาการทำสัญญาจ้างออกไปเป็นเดือน เม.ย. 2567 ซึ่งเชื่อว่าส่งมอบไม่ทันตามแผนเดิมคือ อยากรู้ว่าปัญหาติดอยู่ตรงไหน ถ้าหากส่งมอบล่าช้าแล้วฝ่ายบริหารมาของบฯเพื่อเช่ารถขยะชั่วคราวทดแทน ตนไม่ยอมแน่เพราะทำให้เสียผลประโยชน์ของชาติและภาษีประชาชน และคณะกรรมการยกร่าง TOR มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการกำหนดคุณสมบัติมากน้อยเพียงใด จะเอาข้อกำหนดต่างๆใน TOR รถขยะน้ำมันแบบเดิมๆมายกร่างเป็นต้นแบบ TOR รถขยะไฟฟ้าไม่ได้ เพราะรถไฟฟ้าต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องใหม่ เพราะมีส่วนที่เป็น IOT เพิ่มเข้ามาเป็นส่วนที่สำคัญ
ตาม พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างของกรมบัญชีกลางสนับสนุนผู้ประกอบการภายในประเทศเป็นหลัก ต้องแนบหนังสือรับรองจากเจ้าของผลิตภัณฑ์ ว่ารถบรรทุกไฟฟ้าที่เสนอนั้นผลิตโดยเจ้าของผลิตภัณฑ์เอง ไม่ได้มาจากการนำรถบรรทุกน้ำมันไปดัดแปลง และมีอะไหล่สำรองทุกชิ้น ตลอดอายุการใช้งานของกรุงเทพมหานคร มีการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ (Local Contents) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 โรงงานผลิต-ประกอบต้องมีคุณสมบัติและมีมาตรฐานเป็นที่ประจักษ์ กทม.ต้องไม่รับพิจารณาผลิตภัณฑ์ที่ผลิตลอกเลียนแบบซึ่งเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือเป็นรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง โครงการนี้เป็นการเช่ารถไม่ใช่ซื้อรถ กทม.ควรกำหนดคุณสมบัติผู้ยื่นข้อเสนอที่ไม่เข้าลักษณะเป็นการเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มใด มีการควบคุมหรือกำหนดมาตรฐานรับรองการผลิตและความปลอดภัยในการใช้งาน เพื่อการันตีว่ารถจะไม่ระเบิดหรือไฟไหม้ ไม่ใช่ไปเช่ารถที่เป็นรถดัดแปลงเพราะหากเกิดความเสียหายและเป็นอันตรายถึงชีวิตขึ้นมา จะไปเรียกร้องความรับผิดชอบจากใครและ กทม.จะรับผิดชอบไหวหรือไม่
“สุดท้ายคือ เรื่องนี้มีการเตะถ่วงเพื่อยื้อหรือมีเจตนาที่จะดำเนินการต่อสัญญาให้กลุ่มธุรกิจ นายทุนหรือไม่ และความล่าช้าจากการดำเนินโครงการใครเป็นผู้รับผิดชอบ อย่างไรก็ตามตนไม่เคยคิดว่า ผู้ว่าฯ และรองผู้ว่าฯ กทม.จะทำเรื่องนี้ เชื่อว่าฝ่ายบริหารและ ส.ก.ทุกคนมีความบริสุทธิ์ใจและตั้งใจทำเพื่อประชาชน แต่ต้องถามเพราะอยากให้ดำเนินการทุกอย่างตามขั้นตอนที่ถูกต้อง เพราะรถขยะที่วิ่งใน กทม.คือหน้าตาของเรา และไม่ใช่เฉพาะคน กทม.ที่รอดูอยู่แต่รวมไปถึงพี่น้องประชาชนทั่วประเทศ” นายพุทธิพัชร์ระบุ
ด้านนายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่ากรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ยอมรับว่าการจัดซื้อรถพลังงานไฟฟ้าเป็นเรื่องใหม่ จึงไม่ใช่เรื่องง่ายต้องมีการศึกษาและทดลอง โดยได้ดำเนินการไปแล้วตามขั้นตอน ซึ่งยืนยันว่าคณะกรรมการร่าง TOR มีความรู้ความสามารถในการจัดหารถอีวีที่มีคุณภาพสามารถใช้งานได้จริงๆ โดยศึกษาข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญที่เป็นบุคคลภายนอก ตามแผนดำเนินงานสำนักสิ่งแวดล้อมจะเสนอให้ลงนามเห็นชอบเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อได้ในวันที่ 31 ม.ค.67 และวันที่ 1 ก.พ.67 จะประกาศ TOR และลงนามในสัญญา วันที่ 20 เม.ย.67 จากนั้นจะให้บริษัทส่งรถมาตรวจสอบ ซึ่งหากไม่มีปัญหาร้องเรียนหรืออุทธรณ์ยืนยันว่าเมื่อรถหมดสัญญาวันที่ 22 ธ.ค.67 วันถัดไปคือ 23 ธ.ค.67ต้องมีรถขยะเข้ามาทดแทน ส่วนข้อห่วงใยเรื่องมาตรฐานและความปลอดภัยนั้นจะให้ทางสำนักสิ่งแวดล้อมส่งข้อมูลให้
ส่วนเรื่องการเตะถ่วงยืนยันว่าไม่มี เพราะอำนาจการเซ็นลงนามเป็นของตน แต่ยอมรับว่าลักษณะการทำงานมีความล่าช้าจริง เนื่องจากตั้งงบฯตั้งแต่ปี 2566 ผ่านมา 1 ปีก็ยังไม่สามารถก่อหนี้ได้ ในฐานะที่มีหน้าที่ติดตามการใช้งบฯ กทม.อีกทางหนึ่ง เป็นเรื่องที่ตนถือว่าไม่ใช่เรื่องปกติ ส่วนตัวแล้วยืนยันว่าไม่เคยคิดเอาบริษัทใดบริษัทหนึ่งเข้ามารับงาน เรื่องนี้มีการร้องเรียนไปที่ ป.ป.ช. และสำนักเฝ้าระวังและประเมินสภาวการณ์ทุจริตได้เข้ามาตรวจสอบ ซึ่งเอกสารทุกอย่างที่สำนักสิ่งแวดล้อมทำได้ส่งสำเนาให้ ป.ป.ช.แล้ว รวมทั้งขั้นตอนที่จะเกิดขึ้นต่อไปทั้งหมดต้องสำเนาเอกสารส่ง ป.ป.ช.ด้วย
“ที่ผ่านมามีบุคคลท่านหนึ่งโทรศัพท์มาหาผม ถามว่ามีการล็อคสเปกหรือไม่ ซึ่งได้ตอบไปว่าไม่เคยทำ แต่ถ้าท่านไม่มั่นใจสามารถรองเรียนไปที่ ป.ป.ช.ได้ คาดว่าวันที่ 31 ม.ค.นี้ สำนักคลังจะผ่านเรื่องมาให้ตนเพื่อเห็นชอบในฐานะรองผู้ว่าฯปฎิบัติราชการแทน ผมจะสั่งให้ส่งเอกสารทุกอย่างที่เซ็นให้ ป.ป.ช.รับทราบ ไม่จำเป็นต้องให้ ป.ป.ช.มาทวงขอ ในขณะเดียวกันวันที่ 1 ก.พ.นี้จะขึ้นเว็บไซค์ ท่านสามารถที่จะเข้าไปวิจารณ์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านๆนั้นเคยรับราชการอยู่ที่ กทม.ด้วย ผมรับไม่ได้ถ้าเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น”
จากการประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยประชุมสามัญ สมัยแรก (ครั้งที่ 4) ประจำปี พ.ศ.2567 ที่อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 (ดินแดง) เมื่อเร็วๆนี้ นายพุทธิพัชร์ ธันยาธรรมนนท์ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) เขตยานนาวา ได้ตั้งกระทู้ถามสดติดตามผลการดำเนินงานโครงการเช่ารถเก็บมูลฝอยพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นโครงการจัดหารถมาทดแทนรถเก็บมูลฝอยเดิมของสำนักงานเขตต่างๆ ที่จะหมดสัญญาเช่าในช่วงปลายปี 2567 จำนวน 842 คัน วงเงินงบประมาณ 3,993,761,463 บาท ซึ่งผู้บริหาร กทม.เคยแจ้งต่อ สภา กทม.ว่าจะดำเนินการลงนามในสัญญาจ้างได้ภายในสิ้นปี 2566 และส่งมอบรถได้ในเดือน พ.ค.2567 แต่กลับไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผน
นายพุทธิพัชร์ กล่าว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ลงพื้นที่เฝ้าระวังโครงการเช่ารถเก็บมูลฝอยพลังงานไฟฟ้าของ กทม. จึงขอตั้งกระทู้ด่วนสอบถามว่าจะแล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์เมื่อไหร่ อย่างไร เพราะมีการขยายเวลาการทำสัญญาจ้างออกไปเป็นเดือน เม.ย. 2567 ซึ่งเชื่อว่าส่งมอบไม่ทันตามแผนเดิมคือ อยากรู้ว่าปัญหาติดอยู่ตรงไหน ถ้าหากส่งมอบล่าช้าแล้วฝ่ายบริหารมาของบฯเพื่อเช่ารถขยะชั่วคราวทดแทน ตนไม่ยอมแน่เพราะทำให้เสียผลประโยชน์ของชาติและภาษีประชาชน และคณะกรรมการยกร่าง TOR มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการกำหนดคุณสมบัติมากน้อยเพียงใด จะเอาข้อกำหนดต่างๆใน TOR รถขยะน้ำมันแบบเดิมๆมายกร่างเป็นต้นแบบ TOR รถขยะไฟฟ้าไม่ได้ เพราะรถไฟฟ้าต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องใหม่ เพราะมีส่วนที่เป็น IOT เพิ่มเข้ามาเป็นส่วนที่สำคัญ
ตาม พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างของกรมบัญชีกลางสนับสนุนผู้ประกอบการภายในประเทศเป็นหลัก ต้องแนบหนังสือรับรองจากเจ้าของผลิตภัณฑ์ ว่ารถบรรทุกไฟฟ้าที่เสนอนั้นผลิตโดยเจ้าของผลิตภัณฑ์เอง ไม่ได้มาจากการนำรถบรรทุกน้ำมันไปดัดแปลง และมีอะไหล่สำรองทุกชิ้น ตลอดอายุการใช้งานของกรุงเทพมหานคร มีการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ (Local Contents) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 โรงงานผลิต-ประกอบต้องมีคุณสมบัติและมีมาตรฐานเป็นที่ประจักษ์ กทม.ต้องไม่รับพิจารณาผลิตภัณฑ์ที่ผลิตลอกเลียนแบบซึ่งเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือเป็นรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง โครงการนี้เป็นการเช่ารถไม่ใช่ซื้อรถ กทม.ควรกำหนดคุณสมบัติผู้ยื่นข้อเสนอที่ไม่เข้าลักษณะเป็นการเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มใด มีการควบคุมหรือกำหนดมาตรฐานรับรองการผลิตและความปลอดภัยในการใช้งาน เพื่อการันตีว่ารถจะไม่ระเบิดหรือไฟไหม้ ไม่ใช่ไปเช่ารถที่เป็นรถดัดแปลงเพราะหากเกิดความเสียหายและเป็นอันตรายถึงชีวิตขึ้นมา จะไปเรียกร้องความรับผิดชอบจากใครและ กทม.จะรับผิดชอบไหวหรือไม่
“สุดท้ายคือ เรื่องนี้มีการเตะถ่วงเพื่อยื้อหรือมีเจตนาที่จะดำเนินการต่อสัญญาให้กลุ่มธุรกิจ นายทุนหรือไม่ และความล่าช้าจากการดำเนินโครงการใครเป็นผู้รับผิดชอบ อย่างไรก็ตามตนไม่เคยคิดว่า ผู้ว่าฯ และรองผู้ว่าฯ กทม.จะทำเรื่องนี้ เชื่อว่าฝ่ายบริหารและ ส.ก.ทุกคนมีความบริสุทธิ์ใจและตั้งใจทำเพื่อประชาชน แต่ต้องถามเพราะอยากให้ดำเนินการทุกอย่างตามขั้นตอนที่ถูกต้อง เพราะรถขยะที่วิ่งใน กทม.คือหน้าตาของเรา และไม่ใช่เฉพาะคน กทม.ที่รอดูอยู่แต่รวมไปถึงพี่น้องประชาชนทั่วประเทศ” นายพุทธิพัชร์ระบุ
ด้านนายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่ากรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ยอมรับว่าการจัดซื้อรถพลังงานไฟฟ้าเป็นเรื่องใหม่ จึงไม่ใช่เรื่องง่ายต้องมีการศึกษาและทดลอง โดยได้ดำเนินการไปแล้วตามขั้นตอน ซึ่งยืนยันว่าคณะกรรมการร่าง TOR มีความรู้ความสามารถในการจัดหารถอีวีที่มีคุณภาพสามารถใช้งานได้จริงๆ โดยศึกษาข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญที่เป็นบุคคลภายนอก ตามแผนดำเนินงานสำนักสิ่งแวดล้อมจะเสนอให้ลงนามเห็นชอบเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อได้ในวันที่ 31 ม.ค.67 และวันที่ 1 ก.พ.67 จะประกาศ TOR และลงนามในสัญญา วันที่ 20 เม.ย.67 จากนั้นจะให้บริษัทส่งรถมาตรวจสอบ ซึ่งหากไม่มีปัญหาร้องเรียนหรืออุทธรณ์ยืนยันว่าเมื่อรถหมดสัญญาวันที่ 22 ธ.ค.67 วันถัดไปคือ 23 ธ.ค.67ต้องมีรถขยะเข้ามาทดแทน ส่วนข้อห่วงใยเรื่องมาตรฐานและความปลอดภัยนั้นจะให้ทางสำนักสิ่งแวดล้อมส่งข้อมูลให้
ส่วนเรื่องการเตะถ่วงยืนยันว่าไม่มี เพราะอำนาจการเซ็นลงนามเป็นของตน แต่ยอมรับว่าลักษณะการทำงานมีความล่าช้าจริง เนื่องจากตั้งงบฯตั้งแต่ปี 2566 ผ่านมา 1 ปีก็ยังไม่สามารถก่อหนี้ได้ ในฐานะที่มีหน้าที่ติดตามการใช้งบฯ กทม.อีกทางหนึ่ง เป็นเรื่องที่ตนถือว่าไม่ใช่เรื่องปกติ ส่วนตัวแล้วยืนยันว่าไม่เคยคิดเอาบริษัทใดบริษัทหนึ่งเข้ามารับงาน เรื่องนี้มีการร้องเรียนไปที่ ป.ป.ช. และสำนักเฝ้าระวังและประเมินสภาวการณ์ทุจริตได้เข้ามาตรวจสอบ ซึ่งเอกสารทุกอย่างที่สำนักสิ่งแวดล้อมทำได้ส่งสำเนาให้ ป.ป.ช.แล้ว รวมทั้งขั้นตอนที่จะเกิดขึ้นต่อไปทั้งหมดต้องสำเนาเอกสารส่ง ป.ป.ช.ด้วย
“ที่ผ่านมามีบุคคลท่านหนึ่งโทรศัพท์มาหาผม ถามว่ามีการล็อคสเปกหรือไม่ ซึ่งได้ตอบไปว่าไม่เคยทำ แต่ถ้าท่านไม่มั่นใจสามารถรองเรียนไปที่ ป.ป.ช.ได้ คาดว่าวันที่ 31 ม.ค.นี้ สำนักคลังจะผ่านเรื่องมาให้ตนเพื่อเห็นชอบในฐานะรองผู้ว่าฯปฎิบัติราชการแทน ผมจะสั่งให้ส่งเอกสารทุกอย่างที่เซ็นให้ ป.ป.ช.รับทราบ ไม่จำเป็นต้องให้ ป.ป.ช.มาทวงขอ ในขณะเดียวกันวันที่ 1 ก.พ.นี้จะขึ้นเว็บไซค์ ท่านสามารถที่จะเข้าไปวิจารณ์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านๆนั้นเคยรับราชการอยู่ที่ กทม.ด้วย ผมรับไม่ได้ถ้าเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น”
ไม่มีความคิดเห็น