Breaking News

กองทุนพัฒนาไฟฟ้า เปิดตัวโครงการ “คนบันดาลไฟ : ใครไม่ Change Climate Change” ขยายฐานความรู้ สร้างความเข้าใจ สู่การเปลี่ยนผ่านใช้พลังงานสะอาดอย่างยั่งยืน


กองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน สานต่อโครงการคนบันดาลไฟ ภายใต้แนวคิด “ใครไม่ Change Climate Change” เพื่อขยายฐานความรู้ สร้างความเข้าใจการเปลี่ยนผ่านพลังงานดั้งเดิมสู่การใช้พลังงานสะอาดอย่างยั่งยืน (Energy Transition) ตามกรอบนโยบายพลังงาน 4D1E รวมถึงสื่อสารบทบาท ภารกิจของ กกพ. ไปพร้อมกับการกระตุ้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมแก้ไขวิกฤตและลดผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)



กองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.)
จัดกิจกรรมเปิดตัวโครงการ “คนบันดาลไฟ : ใครไม่ Change Climate Change” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ประชาชนทั่วไป กลุ่มภาคธุรกิจอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และ SME’s รวมถึงกลุ่มเด็กและเยาวชน ให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนผ่านพลังงานดั้งเดิมไปสู่พลังงานสะอาด (Energy Transition) โดยเน้นการเชื่อมโยงนโยบายพลังงาน 4D1E พลังงานหมุนเวียน อาทิ Biogas Biomass Solar Power Waste to Energy ตลอดจนเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานใหม่ อาทิ ระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System : ESS) รวมถึงยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle : EV) ผ่านรูปแบบการสื่อสารที่น่าสนใจ จะส่งผลให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ กระตุ้นให้เกิดการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้มากขึ้น รวมถึงสื่อสารถึงบทบาท ภารกิจของ กกพ. ที่มุ่งหวังให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่วมมือแก้ไขวิกฤตและลดผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ไปด้วยกัน


ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ กรรมการกำกับกิจการพลังงาน
กล่าวว่า “การเปิดโครงการ “คนบันดาลไฟ : ใครไม่ Change Climate Change กองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) เป็นการสานต่อโครงการคนบันดาลไฟจาก 2 ปี ที่ สำนักงาน กกพ. เคยจัดมาแล้ว ทั้งนี้ เพื่อขยายฐานความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ซึ่งได้แก่ พลังงานจากแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานจากขยะ เป็นต้น ที่ปัจจุบันถูกเรียกว่า ไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด เนื่องจากเป็นพลังงานที่ไม่ได้เกิดจากการเผาไหม้ จึงช่วยลดก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ อีกทั้ง เพื่อเผยแพร่ความรู้ใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมพลังงานที่ภาครัฐมีความมุ่งหวังว่า หากเกิดการใช้อย่างแพร่หลายในกลุ่มประชาชนจะช่วยลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ(Climate Change) ได้


กองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงาน กกพ.
ตระหนักดีว่าข้อมูลเนื้อหาเรื่องพลังงานเหล่านี้เป็นเรื่องยาก จึงกำหนดให้มีการสื่อสารเรื่องพลังงานไปยังกลุ่มเป้าหมายโดยผ่านกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง โครงการคนบันดาลไฟ : ใครไม่ Change Climate Change ก็เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ กองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงาน กกพ. จะสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายในปี 2566 นี้ โดยมอบหมายให้ บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด เป็นผู้ดำเนินโครงการฯ โดยมุ่งเน้นการสื่อสารรูปแบบ Multi-Way ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทุกช่วงวัย ผ่านกลยุทธ์การสื่อสาร “3E” คือ Easy (เข้าใจง่าย) Edutainment (ผสมผสานข้อมูลและความรู้) Extensive (ปลุกจิตสำนึกให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายและแพร่หลายสู่สังคมอย่างยั่งยืน) โดยมุ่งเน้นการสื่อสารเป้าหมายหลักตามบทบาท และภารกิจของ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในเรื่องการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานดั้งเดิมไปสู่การใช้พลังงานสะอาด (Energy Transition) เพื่อลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ตามนโยบาย 4D1E รวมถึงการสนับสนุนเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงาน ESS และ EV ด้วยการสร้างการรับรู้ผ่านรายการโทรทัศน์ “คนบันดาลไฟ The Reality” รูปแบบ “เรียลลิตี้” (Reality) ที่น่าติดตาม โดยได้รับเกียรติจากจากบุคคลที่มีชื่อเสียงจากแวดวงต่างๆ อาทิ การเมือง ธุรกิจ SME’s นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ผู้เชี่ยวชาญด้านยานยนต์ อินฟูลเอนเซอร์ มารับภารกิจการเรียนรู้การใช้พลังงานสะอาด ซึ่งอาจจะนำไปสู่วิถีชีวิตแบบเดิมของพวกเขาให้เปลี่ยนไป โดยจะเผยแพร่ทุกวันเสาร์ ทาง Amarin TV ช่อง 34HD เวลา 14.20-14.50 น.


สำหรับ Influencer และแขกวีไอพีที่ได้มาร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ด้านการประหยัดพลังงานและโลกโลกร้อนในงานแถลงข่าว“คนบันดาลไฟ : ใครไม่ Change Climate Change” ครั้งนี้ได้แก่ เจ๊จง - จงใจ กิจแสวง เจ้าของร้านหมูทอดเงินล้านชื่อดัง แคน - อติรุจ กิตติพัฒนะ ดีเจกรีนเวฟคนเก่ง คุณวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ วีระศักดิ์โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภากรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของวุฒิสภาและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และคุณต่อ - ภัทราพร สังข์พวงทอง : Producer กิจกรรม กบจูเนียร์ ใครไม่ Change Climate Change ซึ่งแต่และท่านต่างก็มาแชร์และเชิญชวนประชาชนให้หันมาใส่ใจต่อการประหยัดพลังงานและมีวิธีและแนวทางการตระหนักถึงการประหยัดพลังงาน รักษ์โลก ตั้งแต่เรื่องใกล้ตัวภายในบ้าน จนถึงชุมชนและความสำนึกหวงแหนต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่เพื่ออนาคตของลูกหลานภาคหน้าจะได้มีชีวิตที่ดีขึ้นต่อๆไปและพร้อมจะเป็นตัวอย่างและเป็นตัวกลางในการสื่อสารให้ความรู้ด้านใช้พลังงานสะอาด การประหยัดน้ำไฟ ทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่าเพื่อเป็นกระบอกเสียงและให้ความรู้สู่ประชาชนทั่วไปให้ตระหนักถึงปัญหาและการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อโลกเราไม่ได้มีปัญหาวิกฤติพลังงานอีกต่อไป


นอกจากนี้ สร้างการรับรู้ผ่าน Advertising Short Film ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ Energy Transition and Climate Change จำนวน 4 เรื่อง 4 อารมณ์ ได้แก่ Comedy & Music (สนุกสนานและเพลิดเพลิน) Drama (สะเทือนใจ) Feel Good (น่ารัก/สร้างแรงบันดาลใจ) และ Horror (สยองขวัญ) ให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการรับรู้อย่างกว้างขวางมากขึ้น และเตรียมพบการกลับมาอีกครั้งของ “กบจูเนียร์” กิจกรรมประกวดสื่อสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา (ตอนต้น-ตอนปลาย) และอาชีวศึกษา (ปวช.) ในหัวข้อ “ใครไม่ Change Climate Change” เพื่อกระตุ้นและสร้างความตระหนักรู้เรื่องพลังงานไฟฟ้าผ่านกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ ชิงเงินรางวัลทุนการศึกษารวมทั้งสิ้นกว่า 700,000 บาท”


ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Transition) ไปสู่การใช้พลังงานสะอาด และติดตามข่าวสารต่างๆ ของโครงการฯ ได้ที่ Facebook Fanpage : คนบันดาลไฟ https://www.facebook.com/khonbandarnfai // Website คนบันดาลไฟ : www.khonbandarnfai.org และ YouTube คนบันดาลไฟ : https://www.youtube.com/@khonbandarnfai

หมายเหตุ : 4D1E คือ
1. Digitalization - การเร่งยกระดับโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าให้เป็นระบบอัจฉริยะ หรือ Smart Grid ด้วยการปรับโครงสร้างพื้นฐาน ขยายแรงดันสายส่งไฟฟ้าจาก 115 เควี เป็น 500 เควี หรือ 800 เควี เพื่อให้สามารถรองรับการไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานทดแทนและเข้าถึงพื้นที่ชุมชนนได้ รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System) เพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับระบบไฟฟ้าทั้งในชุมชนและโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่
2. Decarbonization - เป็นการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ชีวภาพ ชีวมวล และการให้ภาคพลังงานดูดซับสินค้าเกษตรส่วนเกิน เพื่อยกระดับราคาผ่านการผลิตและการใช้ไบโอดีเซล B7 B10 และ B20
3. Decentralization – เป็นการสนับสนุนการส่งผ่านกระแสไฟฟ้าผ่านระบบสายส่งและนอกระบบสายส่ง ให้เกิดการซื้อขายระหว่างกัน การสนับสนุนให้จัดตั้งโรงไฟฟ้าระดับชุมชน การสำรวจและจัดทำแผนที่เครือข่ายพลังงานทั่วประเทศ การสร้างความสมดุลของพื้นที่ไฟฟ้าในทุกภูมิภาค
4. De-regulation - เป็นการเปิดพื้นที่เฉพาะให้สามารถพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมด้านพลังงานได้โดยผ่อนปรนกฎระเบียบที่เป็นอุกสรรคให้ (Sandbox) การส่งเสริมให้เกิด Start up ด้านพลังงาน การแก้ไขกฎเกณฑ์ให้นำเงินจากกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานมาใช้ในการสนับสนุนธุรกิจพลังงานชุมชน การลอดล็อคพลังงานที่ผลิตจากภาคประชาชนให้เข้าสู่ระบบสายส่งหรือ Grid ได้ 5. Electrification – เป็นการขยายโครงข่ายรถไฟฟ้าและส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า


ไม่มีความคิดเห็น