Breaking News

อว. รายงานวันนี้ฉีดวัคซีนโควิด-19 รวม 300 ล้านโดสใน 114 ประเทศ ส่วนในอาเซียนฉีดแล้ว 8 ประเทศ เวียตนามเริ่มฉีดวัคซีนวันนี้


➡️(8 มีนาคม 2564) ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยว่า "ขณะนี้จำนวนการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลก เกินกว่า 300 ล้านโดสแล้ว ใช้เวลา 3 เดือนพอดีนับจากวันแรกที่มีการฉีดวัคซีนในประชากรในวงกว้าง โดยมี 114 ประเทศที่ได้รับวัคซีนแล้ว

ในขณะนี้ อัตราการฉีดล่าสุดรวมกันทั่วโลกอยู่ที่ 7.93 ล้านโดสต่อวัน และมี 3 ประเทศที่ได้ฉีดวัคซีนให้เกินกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรแล้ว โดยอิสราเอลฉีดวัคซีนเกือบครบ 100% ทั้งนี้สหรัฐอเมริกามีการฉีดวัคซีนจำนวนมากที่สุด กว่า 90 ล้านโดส หรือเกือบ 1 ใน 3 ของจำนวนการฉีดวัคซีนทั่วโลก

ในขณะที่ภูมิภาคอาเซียน ได้มีการฉีดวัคซีนแล้ว 8 ประเทศ รวมกันเกือบ 5 ล้านโดส โดยเวียตนามเป็นประเทศล่าสุดในอาเซียนที่มีการฉีดวัคซีนในวันนี้เป็นวันแรก

สำหรับประเทศไทยมีการฉีดวัคซีนแล้วใน 13 จังหวัด จำนวนรวม 27,497 คน ณ วันที่ 6 มีนาคม 2564

🌏 ในการฉีดวัคซีน จำนวน 300 ล้านโดสนี้ อว. ขอรายงานสถิติที่สำคัญ คือ


1. ใช้เวลาในการฉีดวัคซีนถึง 300 ล้านโดส ในเวลา 90 วัน
  • โดย 100 ล้านโดสแรก ใช้เวลา 56 วัน 
  • ในขณะที่ 100 ล้านโดสที่สอง ใช้เวลาเพียง 19 วัน 
  • และ 100 ล้านโดสที่สาม ยังคงใช้เวลาเร็วขึ้นอีก โดยใช้เวลาเพียง 15 วัน เนื่องจากเริ่มมีการกระจายวัคซีนไปทั่วโลกเพิ่มมากขึ้น และเพิ่มจำนวนประเทศที่ฉีดวัคซีน


2. ประเทศที่ฉีดวัคซีนแล้วมากที่สุดมี 6 ประเทศที่ฉีดวัคซีนมากกว่า 10 ล้านโดส ได้แก่
    1. สหรัฐอเมริกา จำนวน 90.35 ล้านโดส (29.7% ของจำนวนการฉีดทั่วโลก)
    2. จีน จำนวน 52.50 ล้านโดส (17.3%)
    3. สหภาพยุโรป 40.43 ล้านโดส (13.3%)
    4. สหราชอาณาจักร 23.34 ล้านโดส (7.7%)
    5. อินเดีย 20.92 ล้านโดส (6.9%)
    6. บราซิล 10.39 ล้านโดส (3.4%)

3. ประเทศที่ฉีดวัคซีนในสัดส่วนประชากรมากที่สุดมี 3 ประเทศที่ฉีดวัคซีนให้กับประชากรเกินครึ่งแล้ว ได้แก่
    1. อิสราเอล (96.01% ของประชากร) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech และ Moderna)
    2. เซเชลส์ (85.12%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford และ Sinopharm)
    3. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (58.36%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaleya)

4. ความเร็วในการฉีดวัคซีน สูงที่สุด 10 อันดับแรก (เฉลี่ยล่าสุด)
    1. สหรัฐอเมริกา (วันละ 2.16 ล้านโดส)
    2. สหภาพยุโรป (วันละ 1.10 ล้านโดส)
    3. อินเดีย (วันละ 0.95 ล้านโดส)
    4. จีน (วันละ 0.60 ล้านโดส)
    5. รัสเซีย (วันละ 0.51 ล้านโดส)
    6. บราซิล (วันละ 0.39 ล้านโดส)
    7. สหราชอาณาจักร (วันละ 0.35 ล้านโดส)
    8. เยอรมนี (วันละ 0.22 ล้านโดส)
    9. อินโดนีเซีย (วันละ 0.20 ล้านโดส)
    10. ตุรกี (วันละ 0.19 ล้านโดส)

5. จำนวนการฉีดวัคซีนแยกตามภูมิภาค
    1. เอเชียและตะวันออกกลาง 38.92%
    2. อเมริกาเหนือ 31.63%
    3. ยุโรป 22.05%
    4. ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน 5.73%
    5. แอฟริกา 1.64%
    6. โอเชียเนีย 0.03%



6. ยอดการจองวัคซีนทั่วโลก รวมกันประมาณ 9,600 ล้านโดส
    -ประเทศที่มียอดการจองวัคซีนจำนวนมากที่สุด ได้แก่ อินเดีย
    -วัคซีนที่ได้รับการจองมากที่สุดคือวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford
    -ประเทศที่มีการจองวัคซีนในสัดส่วนประชากรมากที่สุดคือ สหราชอาณาจักร



7. ในภูมิภาคอาเซียน ได้ฉีดวัคซีนแล้ว 4,881,330 โดส ใน 8 ประเทศ ได้แก่
    1. สิงคโปร์ จำนวน 525,039 โดส (9.2% ของประชากร) เริ่มฉีดเมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2563
    2. อินโดนีเซีย จำนวน 4,022,544 โดส (1.51% ของประชากร) เริ่มฉีดเมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2564
    3. พม่า จำนวน 104,664 โดส (0.2% ของประชากร) เริ่มฉีดเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2564
    4. กัมพูชา จำนวน 71,185 โดส (0.43% ของประชากร) เริ่มฉีดเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2564
    5. มาเลเซีย จำนวน 127,608 โดส (0.39% ของประชากร) เริ่มฉีดเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2564
    6. ไทย จำนวน 27,497 โดส (0.05% ของประชากร) เริ่มฉีดเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2564
    7. ฟิลิปปินส์ จำนวน 2,793 โดส เริ่มฉีดเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2564
    8. เวียตนาม เพิ่งเริ่มฉีดวัคซีนเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2564

ทั้งนี้ ลาว ได้ประกาศว่าจะฉีดวัคซีนในเดือนมีนาคม 2564 หลังจากที่ฉีดวัคซีนที่ได้รับบริจาคมาชุดแรกไปเมื่อเดือน พ.ย. 2563 (ไม่ทราบจำนวน) ส่วนบรูไน ระบุว่าจะฉีดภายในไตรมาสที่ 1 ของปี 2564



8. ข้อมูลการฉีดวัคซีนล่าสุดของประเทศไทย
    จำนวนการฉีดวัคซีนสะสม 27,497 คน ณ วันที่ 6 มีนาคม 2564 โดยฉีดแล้ว 13 จังหวัด และ สมุทรสาครเป็นจังหวัดที่มีการฉีดวัคซีนมากที่สุด

แหล่งข้อมูล Bloomberg Vaccine Tracker, Our World in data, กระทรวงสาธารณสุข
ประมวลข้อมูลโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)


ไม่มีความคิดเห็น