DITP ดันแบรนด์สินค้านวัตกรรมเกษตรไทยสู่เวทีโลก
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เตรียมยกระดับสินค้านวัตกรรมทางการเกษตรไทยสู่สากล เปิดตัวโครงการ IDEA LAB : Thai Agricultural Innovation นำแบรนด์เข้าอบรมเข้มข้นจากผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศหลากหลายสาขา พร้อมจัดทำคู่มือการสร้างแบรนด์ซึ่งเป็นรูปแบบเฉพาะตัวของทั้ง 10 แบรนด์ที่เข้ารอบสุดท้าย ปูทางสร้างความแข็งแกร่ง พร้อมหวังให้เวทีการค้าระดับสากลอ้าแขนรับแบรนด์สินค้านวัตกรรมจากไทยมากขึ้น
นายสมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กล่าวในพิธีเปิดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างแบรนด์สินค้านวัตกรรมทางการเกษตรไทยสู่ตลาดสากลว่า ภายใต้สภาพแวดล้อมและผลกระทบจากสถานการณ์ต่างๆ ที่ส่งผลต่อบริบทธุรกิจใหม่ หรือ The New Normal ผู้ประกอบการไทยควรจะต้องปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก สินค้าที่แข่งขันได้ในปัจจุบัน นอกจากจะมีคุณภาพที่ดีแล้ว ยังต้องมีการใช้ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และการสร้างแบรนด์ เป็นตัวขับเคลื่อน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า และส่งมอบคุณค่าของการใช้สอยสนองตอบกับสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ
กลุ่มสินค้านวัตกรรมทางการเกษตรเป็นกลุ่มสินค้าที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการพัฒนาความก้าวหน้าของสินค้าขึ้นไปอีกขึ้น แม้จะพบว่าเอสเอ็มอีไทยหลายแบรนด์ที่มีความตั้งใจในด้านการผลิต แต่ยังมีจุดอ่อนเรื่องการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก และเข้าถึงใจผู้บริโภค กรมฯ จึงต้องการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการนวัตกรรมไทยในทุกภูมิภาคในด้านการสร้างคุณค่าของแบรนด์สินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และให้สามารถขยายมูลค่าการค้าระหว่างประเทศได้อย่างแท้จริง
“กิจกรรมส่งเสริมการสร้างแบรนด์สินค้านวัตกรรมทางการเกษตรไทยสู่ตลาดสากล (IDEA LAB : Thai Agricultural Innovation) เกิดขึ้นภายใต้แนวคิด “Growing Brand Sustainability” เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ (Branding Strategy) ที่จะก่อให้เกิดการสร้างแบรนด์พร้อมทั้งภาพลักษณ์ที่ดี สามารถสร้างความแตกต่างที่โดดเด่นในการดำเนินธุรกิจ และเป็นการช่วยยกระดับแบรนด์ประเทศไทยสู่สากล ภายใต้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์ระดับประเทศ โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานด้านการส่งเสริมนวัตกรรมต่างๆ ที่มีภารกิจในการส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ที่มีนวัตกรรมมาต่อยอดเสริมสร้างศักยภาพในการสร้างแบรนด์ รับรู้จุดแข็งจุดอ่อนเพื่อนำไปพัฒนาธุรกิจ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจสู่ระดับสากลได้อย่างยั่งยืน”
กลุ่มสินค้านวัตกรรมทางการเกษตรเป็นกลุ่มสินค้าที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการพัฒนาความก้าวหน้าของสินค้าขึ้นไปอีกขึ้น แม้จะพบว่าเอสเอ็มอีไทยหลายแบรนด์ที่มีความตั้งใจในด้านการผลิต แต่ยังมีจุดอ่อนเรื่องการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก และเข้าถึงใจผู้บริโภค กรมฯ จึงต้องการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการนวัตกรรมไทยในทุกภูมิภาคในด้านการสร้างคุณค่าของแบรนด์สินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และให้สามารถขยายมูลค่าการค้าระหว่างประเทศได้อย่างแท้จริง
“กิจกรรมส่งเสริมการสร้างแบรนด์สินค้านวัตกรรมทางการเกษตรไทยสู่ตลาดสากล (IDEA LAB : Thai Agricultural Innovation) เกิดขึ้นภายใต้แนวคิด “Growing Brand Sustainability” เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ (Branding Strategy) ที่จะก่อให้เกิดการสร้างแบรนด์พร้อมทั้งภาพลักษณ์ที่ดี สามารถสร้างความแตกต่างที่โดดเด่นในการดำเนินธุรกิจ และเป็นการช่วยยกระดับแบรนด์ประเทศไทยสู่สากล ภายใต้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์ระดับประเทศ โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานด้านการส่งเสริมนวัตกรรมต่างๆ ที่มีภารกิจในการส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ที่มีนวัตกรรมมาต่อยอดเสริมสร้างศักยภาพในการสร้างแบรนด์ รับรู้จุดแข็งจุดอ่อนเพื่อนำไปพัฒนาธุรกิจ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจสู่ระดับสากลได้อย่างยั่งยืน”
งานสัมมนาทิศทางการสร้างแบรนด์หลัง COVID-19 ที่เกิดขึ้นในวันนี้ มีผู้เข้าร่วมงานเป็นผู้ประกอบการที่มีแบรนด์สินค้าที่ใช้นวัตกรรมในรูปแบบการวิจัย ผลิต บริหารจัดการ และมีวัตถุดิบหรือส่วนผสมที่มาจากวัสดุจากการเกษตรหรืออุตสาหกรรมการเกษตร จะได้รับฟังสัมมนาจากผู้ทรงคุณวุฒิในหัวข้อที่น่าสนใจมากมาย อาทิ "แนวโน้มด้านการตลาดระหว่างและแนวโน้มการพัฒนานวัตกรรมที่เน้นตลาดเป็นตัวนำ (Market Driven) ในระดับสากล โดย นางสาวเชิญพร สวัสดิวร Engagement Manager, McKinsey & Company, "เทคนิคการสร้างความแตกต่าง การสร้างเรื่องราว และการสื่อสาร เพื่อส่งเสริม แบรนด์สินค้านวัตกรรม สินค้านวัตกรรมในกลุ่มสินค้าทางการเกษตร" โดย นายธราธิป นัทธีศรี อดีตผู้บริหารแบรนด์ Café Amazon, กรณีศึกษา : ประสบการณ์ด้านการสร้างแบรนด์และการดำเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ (โอกาส ปัญหา และสิ่งที่ต้องเตรียมการ)" โดย นายสุรนาม พานิชการ ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท โทฟุซัง จำกัด แบรนด์นมถั่วเหลือง Tofusan และ SoyBOB เป็นต้น
หลังจากการนี้จะเข้าสู่กระบวนการอบรมและคัดเลือกมีให้เหลือเพียง 10 แบรนด์ เพื่อเข้ารับคำปรึกษาเชิงลึก แบบเฉพาะแบรนด์ (One on One Brand Consultation) ซึ่งขั้นตอนนี้ถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการกำหนดกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ จะมีการลงลึกในรายละเอียดแบบเฉพาะราย ทำความเข้าใจในสถานการณ์ปัจจุบัน และกำหนดเป้าหมายในอนาคตอย่างถ่องแท้ ซึ่งทีมผู้เชี่ยวชาญจะมอบหมายงานให้ผู้ประกอบการไปศึกษาเพิ่มเติม อาทิ ข้อมูลคู่แข่งขัน ข้อมูลผู้บริโภค เพื่อให้ทีมผู้เชี่ยวชาญได้รับข้อมูลที่จำเป็นและเพียงพอในการพัฒนาแผนกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ต่อไป
โดยเนื้อหากลยุทธ์ทั้ง 10 แบรนด์ที่ได้จากขั้นตอนนี้จะถูกจัดทำเป็น คู่มือการสร้างแบรนด์ในรูปแบบเฉพาะ (Customize) ด้วย เป็นการนำทฤษฎีและกระบวนการยุคใหม่มาผสานกับบริบทของการค้าระหว่างประเทศในปัจจุบัน รวมทั้งคำนึงถึงแนวโน้ม ทิศทางความต้องการของตลาดโลก พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้านวัตกรรมในกลุ่มสินค้าทางการเกษตรในอนาคต เพื่อใช้ในการวิเคราะห์จัดวางกลยุทธ์ ดำเนินการโดยคณะผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ อาทิ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรม
"จะเห็นได้ว่ากิจกรรมที่กรมฯ ดำเนินการในปีนี้สำหรับกลุ่มสินค้านวัตกรรมทางการเกษตรค่อนข้างเข้มข้นมาก เพราะเกษตรกรรมเป็นภาคการผลิตที่สำคัญสำหรับประเทศไทย หากผู้ประกอบการ SMEs มีโอกาสได้ต่อยอดทางธุรกิจจากภาคการผลิตพื้นฐานหลักของประเทศ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ด้วยการใช้นวัตกรรม ขณะเดียวกันได้พัฒนากลยุทธ์เพื่อให้ก้าวสู่การค้าในระดับโลกได้ จะเป็นข้อดีสำคัญที่จะทำให้ต่อสู้ในเวทีการค้าโลกได้อย่างยั่งยืน" นายสมเด็จ กล่าวสรุป
โดยเนื้อหากลยุทธ์ทั้ง 10 แบรนด์ที่ได้จากขั้นตอนนี้จะถูกจัดทำเป็น คู่มือการสร้างแบรนด์ในรูปแบบเฉพาะ (Customize) ด้วย เป็นการนำทฤษฎีและกระบวนการยุคใหม่มาผสานกับบริบทของการค้าระหว่างประเทศในปัจจุบัน รวมทั้งคำนึงถึงแนวโน้ม ทิศทางความต้องการของตลาดโลก พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้านวัตกรรมในกลุ่มสินค้าทางการเกษตรในอนาคต เพื่อใช้ในการวิเคราะห์จัดวางกลยุทธ์ ดำเนินการโดยคณะผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ อาทิ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรม
"จะเห็นได้ว่ากิจกรรมที่กรมฯ ดำเนินการในปีนี้สำหรับกลุ่มสินค้านวัตกรรมทางการเกษตรค่อนข้างเข้มข้นมาก เพราะเกษตรกรรมเป็นภาคการผลิตที่สำคัญสำหรับประเทศไทย หากผู้ประกอบการ SMEs มีโอกาสได้ต่อยอดทางธุรกิจจากภาคการผลิตพื้นฐานหลักของประเทศ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ด้วยการใช้นวัตกรรม ขณะเดียวกันได้พัฒนากลยุทธ์เพื่อให้ก้าวสู่การค้าในระดับโลกได้ จะเป็นข้อดีสำคัญที่จะทำให้ต่อสู้ในเวทีการค้าโลกได้อย่างยั่งยืน" นายสมเด็จ กล่าวสรุป
ไม่มีความคิดเห็น