Breaking News

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และจังหวัดขอนแก่น จัด “เทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2564” ภายใต้แนวคิด “อีสาน โคตรซิ่ง” สร้างโอกาสธุรกิจสร้างสรรค์สู่สากล หวังเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจ พร้อมก้าวผ่านวิกฤติโควิด-19


สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA
ร่วมกับจังหวัดขอนแก่น ผนึกพลังหน่วยงานภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา และกลุ่มธุรกิจสร้างสรรค์ต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัด “เทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2564” (Isan Creative Festival 2021) เป็นครั้งแรก ภายใต้แนวคิด “อีสาน โคตรซิ่ง” (Isan Crossing) สะท้อนการผสานสินทรัพย์ทางภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมเข้ากับความคิดสร้างสรรค์ การออกแบบ และนวัตกรรม แสดงศักยภาพของบุคลากรและธุรกิจสร้างสรรค์ ผ่านผลงานที่เก็บเกี่ยวและได้รับแรงบันดาลใจจากสินทรัพย์ทางวัฒนธรรม “อีสาน” โดยมุ่งเน้นส่งเสริม 3 อุตสาหกรรมหลักที่ชูอัตลักษณ์ถิ่นอีสาน ได้แก่ อุตสาหกรรมบันเทิงอีสาน (Isan Entertainment Industry) อุตสาหกรรมการออกแบบและงานฝีมือ (Craft & Design Industry) และอุตสาหกรรมอาหารอีสาน (Isan Gastronomy Industry) พบกับการแสดง และกิจกรรม กว่า 200 รายการ บนพื้นที่ย่านเศรษฐกิจ ในจังหวัดขอนแก่น และทั่วภาคอีสาน หวังเป็นแรงพลังที่จะช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจ และสังคมไทยก้าวผ่านวิกฤตการณ์โรคโควิด-19 และสร้างโอกาสใหม่ให้ธุรกิจสร้างสรรค์ในภาคอีสาน นำเสนอศักยภาพไปสู่เวทีทั้งในประเทศและระดับสากล โดยงานจะมีไปจนถึงวันที่ 15 สิงหาคมศกนี้

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน เปิดงาน “เทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2564” ผ่าน Live Streaming ร่วมด้วย ดร. สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น, ดร. อรรชกา สีบุญเรือง ประธานกรรมการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ตลอดจนคณะผู้จัดงาน ท่ามกลางผู้มีเกียรติ และประชาชนผู้สนใจทั่วไป ร่วมชมผ่านทางออนไลน์ และชมในพื้นที่ (จำกัดจำนวน) ภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคเป็นไปอย่างเคร่งครัด ตามมาตรฐานที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กำหนด


นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
กล่าวภายในพิธีเปิดงานว่า แม้ว่าสถานการณ์โควิด-19 จะทำให้เกิดอุปสรรคข้อจำกัดต่างๆ ซึ่งมีผลให้เราปรับวิถีการทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ก็ไม่สามารถปิดกั้นผู้คนจากการนำพลังความคิดสร้างสรรค์มาใช้แก้ไขอุปสรรคที่กำลังเผชิญ เพื่อก้าวไปข้างหน้า และสร้างโอกาสใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

“รัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความสำเร็จของยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บนพื้นฐานของการต่อยอดและบูรณาการความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นในระดับพื้นที่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากผลสัมฤทธิ์ในการผลักดันกรุงเทพมหานคร และจังหวัดเชียงใหม่ ผ่านความสำเร็จของการจัดเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ และเทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ โดยมีกระแสตอบรับที่ดี ก่อให้เกิดผลเชิงบวกแก่การพัฒนาย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ รวมทั้งสร้างรายได้หมุนเวียนภายในพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม การขยายพื้นที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ สู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะเป็นการขยายเครือข่ายกลุ่มสาขาอาชีพสร้างสรรค์ของศิลปวัฒนธรรมอีสานซึ่งคนอีสานยังมีความสามารถเป็นที่ยอมรับ และเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของประเทศทั้ง 15 สาขา โดยในปี 2561 มีมูลค่ามากกว่า 1.46 ล้านล้านบาท”

“ผมเชื่อว่า เทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2564 จะเป็นแรงพลังที่จะช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจและสังคมไทยก้าวผ่านวิกฤตการณ์โรคโควิด-19 และสร้างโอกาสใหม่ให้ธุรกิจสร้างสรรค์ในภาคอีสาน นำเสนอศักยภาพไปสู่เวทีในประเทศและระดับสากลต่อไป”


ด้าน ดร. สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า ขอนแก่นเป็นจังหวัดที่เปี่ยมไปด้วยสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมและภููมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งยังเป็นศููนย์กลางทางเศรษฐกิจที่่คับคั่่งในภาคอีสาน ซึ่่งภายใต้ศักยภาพเหล่านี้ยังจำเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้ใหม่ๆ นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และความร่วมมือกัน เพื่่อผลักดันให้ขอนแก่นก้าวไปสู่การเป็นศููนย์กลางเมืองแห่งการประชุุมสัมมนา และเชื่่อมต่ออนุุภููมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงในอนาคต การจัดเทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2564 จึงไม่เพียงสะท้อนศักยภาพของจังหวัดขอนแก่น และภููมิภาคอีสานที่่มีความเข้มแข็ง แต่ยังแสดงให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์ของชาวอีสานในการต่อยอดสินค้าและบริการ จากจุุดแข็งทางวัฒนธรรมที่่มี ให้กลายเป็นสินค้าและบริการที่่ตอบสนองกับบริบทใหม่ของโลกได้ ไม่ว่าจะเป็นอุุตสาหกรรมอาหาร ดนตรี งานหัตถกรรม และเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของการทอผ้ามัดหมี่่อย่างแท้จริง จนได้รับการประกาศให้เป็นเมืองหัตถกรรมโลกแห่งผ้ามัดหมี่ สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยไปทั่่วโลก เป็นอัตลักษณ์สร้างให้อีสานเป็นที่่รู้จัก และสามารถแข่งขันบนเวทีโลกได้ในอนาคตต่อไป


ขณะที่ ดร. อรรชกา สีบุญเรือง ประธานกรรมการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กล่าวว่า สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ได้เล็งเห็นศักยภาพของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในภูมิภาคอีสาน จึงได้เข้ามาเปิดให้บริการแก่ประชาชนในจังหวัดขอนแก่น และพื้นที่ภาคอีสาน เมื่อเดือนเมษายน 2563 โดยมีภารกิจสำคัญ คือ การส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ต่อยอดความคิด ศักยภาพ และต้นทุนท้องถิ่นของอีสาน เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่และก้าวทันต่อการแข่งขันในตลาดยุคดิจิทัล รวมถึงเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น

“วันนี้ นับเป็นอีกก้าวสำคัญของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ที่ได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคการศึกษา และภาคชุมชน ในการจัดเทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2564 หรือ Isan Creative Festival 2021 อย่างเต็มรูปแบบขึ้นเป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 9 กรกฎาคม ถึง 15 สิงหาคม 2564 ใน 2 พื้นที่หลัก คือ ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ศรีจันทร์ และศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ขอนแก่น - ย่านกังสดาล ภายใต้เเนวคิด “อีสาน โคตรซิ่ง : Isan Crossing:” เพื่อเป็นเวทีแสดงผลงาน ที่สะท้อนถึงความสามารถในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ผสานกับสินทรัพย์ของอีสาน ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น วัตถุดิบอาหารหลากหลาย ศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนวิถีชีวิตของผู้คน นอกจากนี้ ยังแสดงถึงศักยภาพของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่โดดเด่นของอีสานใน 3 กลุ่ม ได้แก่ อุตสาหกรรมบันเทิงอีสาน, อุตสาหกรรมการออกแบบและงานฝีมือ และอุตสาหกรรมอาหารอีสาน ซึ่งมีนักสร้างสรรค์และผู้ประกอบการจากทั่วภูมิภาคอีสานเข้าร่วมมากถึง 600 ราย ในกิจกรรมต่างๆ มากกว่า 200 กิจกรรม”

ดร.อรรชกา เผยด้วยว่า จากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบทุกหลายภาคอุตสาหกรรม รวมถึงอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มาตั้งแต่ต้นปี 2563 เทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2564 จึงเป็นหนึ่งในความมุ่งมั่นของ CEA ที่จะเข้ามาช่วยเหลืออุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของภาคอีสาให้ครอบคลุมมากที่สุด เทศกาลนี้นอกจากจะเป็นการแสดงผลงาน และศักยภาพของอีสานแล้ว ยังเป็นการจ้างงานนักสร้างสรรค์ และผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคอีสานถึง 90% ของการจ้างงานทั้งหมดในเทศกาล และกระจายซัพพลายเชนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ จากศิลปินและผู้ประกอบการสร้างสรรค์ ไปจนถึงผู้ติดตั้งผลงาน ร้านค้า ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ โรงพิมพ์ และอีกหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทุกคนยังสามารถแสดงผลงานและดำเนินธุรกิจต่อไปได้

“ที่สำคัญ เราดำเนินงานภายใต้มาตรการความปลอดภัยของสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และ SHA อย่างเข้มงวด ทั้งยังได้นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มความปลอดภัยในงาน เช่น เครื่องฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสี UV-C และแพลตฟอร์ม Crowd Check ที่ให้ข้อมูลความหนาแน่นของการใช้งานพื้นที่แบบเรียลไทม์ พร้อมปรับรูปแบบของเทศกาลฯ ให้เป็นแบบไฮบริดที่มีการนำเสนอกิจกรรมทั้งในรูปแบบออนไลน์ และออนไซต์ โดยมีการนำเสนอเนื้อหาให้ได้รับชมผ่านเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก และ Live Streaming มากขึ้น เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเราสามารถจัดงานเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ได้อย่างปลอดภัย และรับผิดชอบต่อสังคมไปพร้อมกัน”

ขอเชิญร่วมเปิดประสบการณ์ “อีสาน โคตรซิ่ง” สัมผัสการแสดงศักยภาพครั้งยิ่งใหญ่ของภาคอีสาน ใน “เทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2564” ได้จนถึงวันที่ 15 สิงหาคมนี้ ติดตามความเคลื่อนไหว กิจกรรม โปรแกรม และตารางเวลาได้ที่ www.isancreativefestival.com, FB: isancreativefestival, Instagram: @isancreativefestival, Line@: IsanCreativeFestival #ISANCF2021

เกี่ยวกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) 
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) : สศส. หรือ Creative Economy Agency (Public Organization) : CEA จัดตั้งขึ้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2561 โดยการยกระดับ TCDC ขึ้นเป็นองค์การมหาชน ในกำกับดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อให้เป็นพลังขับเคลื่อนไปสู่เศรษฐกิจที่สมดุลและยั่งยืนในระยะยาว หนึ่งในภารกิจที่สำคัญของ CEA คือ การสร้างย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นจริง โดยการส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่ที่เอื้อต่อบรรยากาศสร้างสรรค์และการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ ตลอดจนมีความตั้งใจที่จะเชื่อมโยงสู่ชุมชนโดยรอบให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น CEA ยังทำหน้าที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ให้เติบโตจากการพัฒนาศักยภาพและเชื่อมโยงเครือข่าย เพื่อให้ใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นเครื่องมือยกระดับธุรกิจและคุณภาพชีวิตของคนไทยโดยเทศกาลความคิดสร้างสรรค์อีสาน อยู่ภายใต้การดูแลของ CEA ขอนแก่น


ไม่มีความคิดเห็น