ขยะพลาสติกเป็นปัญหาลำดับต้น ๆ ของประเทศ ที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันแก้ไขปัญหา แหล่งกำเนิดที่สำคัญของขยะพลาสติกมาจาก ภาคอุตสาหกรรมทั้งในรูปแบบเศษพลาสติกที่เหลือจากการตัดสินค้าไม่ได้มาตรฐาน และการเริ่มเดินเครื่องจากการผลิต เป็นต้น ซึ่งหากมีการใช้เทคโนโลยีในการช่วยบริหารจัดการการทำงานของเครื่องจักรและพนักงานจะสามารถลดการสูญเสียจำนวนมากลงได้ นอกจากนี้ของเสียเกิดขึ้นหากมีระบบการจัดการเพื่อส่งต่อไปเป็นวัตถุดิบให้กับสายการผลิตอื่นหรือขายให้กับอุตสาหกรรมอื่น จะเป็นการเพิ่มรายได้ ลดค่าใช้จ่ายในการกำจัด และลดขยะพลาสติกจากภาคอุตสาหกรรมออกสู่สิ่งแวดล้อม กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทยจึงเกิดแนวคิดความร่วมมือพี่ช่วยน้อง มุ่งสู่ Zero Plastic Waste ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม Digital loT และ Smart Process ภายใต้ Future Industry 4.0
 |
นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม |
 |
ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ทำหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ |
 |
นายฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย ประธานบริหาร กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย |
ปัจจุบันอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยเฉพาะอุตสาหกรรมพลาสติกและอุตสาหกรรมอาหารและแปรรูปมีความต้องการในการพัฒนาระบบกระบวนการผลิต เพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 โดยใช้ IOT เทคโนโลยี และนวัตกรรมในการลดต้นทุน เพิ่มรายได้ ลดของเสียประเภทพลาสติกที่เป็นต้นทุนหลักของวัตถุดิบ ลดการใช้พลังงาน และแรงงาน การพัฒนาผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศจำต้องอาศัยพลังการขับเคลื่อนจากทั้งภาครัฐและธุรกิจเอกชน
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมซึ่งเป็นหน่วยงานที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 4.0 และ Circular Economy มาอย่างต่อเนื่อง ได้เข้ามาเป็นพี่เลี้ยงให้ความช่วยเหลืออุตสกหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 หรือแนวคิด Big Brothers โดยมีกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย ในฐานะ Big Brothers ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง สร้างเครือข่ายและสนับสนุนในเรื่องของความพร้อมและความเชี่ยวชาญด้านการบริหาร เพื่อผลักดันและขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้ทัดเทียมกับอุตสาหกรรมของต่างประเทศและให้ทันการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของการเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0

ทั้งนี้ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ซึ่งหน่วยงานให้ทุนวิจัยหลักของประเทศและส่งเสริมการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน บนฐานงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์และปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยที่ผ่านมาได้สนับสนุนงานวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรม มาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้หลักการ Sharing as Beneficial Principle ซึ่งจะเป็นมาตรการที่สำคัญในการแก้ปัญหาขยะพลาสติก ได้สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์พัฒนาระบบการรับรอง Zero Plastic Waste สำหรับอุตสาหกรรมพลาสติกขึ้น เพื่อให้การรับรองอุตสาหกรรมที่ลดการเกิดขยะพลาสติกได้อย่างเบ็ดเสร็จหรือขยะพลาสติกเป็นศูนย์
ดังนั้นเพื่อเป็นการ “
ร่วมมือกันพัฒนา SME ไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 ภายใต้โครงการดาว เพื่ออุตสาหกรรมยั่งยืน” 6 หน่วยงาน ประกอบด้วย
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้ร่วมมือกันประกาศเจตนารมย์ความมุ่งมั่น ในการร่วมเข้าสู่สังคม
Zero Plastic Waste วันที่ 8 กันยายน 2563 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม mayfair C ชั้น 11 โรงแรม The Berkeley Hotel Pratunum โดยมี
นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ทำหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และ
นายฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย ประธานบริหาร กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย ร่วมกันประกาศเจตนารมย์และแสดงวิสัยทัศน์ เรื่อง “
Innovative Plastic Business for Circular Economy”
การประกาศเจตนารมย์ร่วมกันในครั้งนี้ เป็นการร่วมมือกันผลักดันและสนับสนุนอุตสาหกรรมพลาสติกและอุตสาหกรรมอาหารและอาหารแปรรูปให้ได้การรับรอง Zero Plastic Waste for Production Process โดยส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อผลักดันการอุตสาหกรรมพลาสติกและอุตสาหกรรมแปรรูป เข้าสู่ Industry 4.0 ภายใต้แนวคิด Circular Economy
ไม่มีความคิดเห็น