Breaking News

สแกนเนียกระตุ้นภาครัฐเตรียมความพร้อมรองรับมาตรฐานยูโร 5 ปี 2567

สแกนเนียพร้อมก้าวสู่มาตรฐานปล่อยไอเสียยูโร 5 ของประเทศไทยในปี พ.ศ.2567 กระตุ้นภาครัฐเร่งกำหนดวางแผนนโยบาย (RoadMap) ให้ชัดเจน รวมถึงการออกมาตรการรองรับในระบบการขนส่ง

จากการที่ประเทศไทยเตรียมออกมาตรการทางกฎหมายให้รถทุกขนาดเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานยูโร 5 เพื่อให้การควบคุมมลพิษรถยนต์ในประเทศไทยเป็นไปได้อย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ล่าสุดสแกนเนีย สยาม สนับสนุน และพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจขนส่งและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ซึ่งบริษัทสแกนเนียมีเทคโนโลยีไปถึงเครื่องยนต์มาตรฐานยูโร 6 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว


นายโจฮัน คลาสัน ผู้อำนวยการฝ่ายขาย และการตลาด และหัวหน้างานด้านความยั่งยืน บริษัท สแกนเนีย สยาม จำกัด
เปิดเผยว่า ภารกิจหลักของสแกนเนีย คือขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง สู่ระบบการขนส่งอย่างยั่งยืน ซึ่งการปรับมาตรฐานของประเทศไทยในครั้งนี้จะช่วยลดมลพิษทางอากาศได้อย่างดีแน่นอน และยังถือเป็นการปรับปรุงระบบอุตสาหกรรมการขนส่งทางถนนของประเทศให้มีความทันสมัย ซึ่งสแกนเนียได้สนับสนุน และส่งเสริมนโยบายนี้มาเป็นเวลานาน ในที่สุดก็เริ่มเห็นรูปธรรมอย่างชัดเจนขึ้นจากรัฐบาลไทย แต่ทั้งนี้อยากให้ภาครัฐมีการกำหนดวางแผนนโยบาย (RoadMap) ให้มีความชัดเจน รวมถึงการออกมาตรการรองรับในระบบการขนส่ง นายโจฮันกล่าวว่า ในช่วง 15 ปี ที่ผ่านมา การพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องยนต์เป็นไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยทวีปยุโรปได้บังคับใช้มาตรฐานยูโร 6 ไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554


“หลายปีที่ผ่านมา ช่วงปลายปีแบบนี้ยาวไปจนถึงต้นปีถัดไป คนไทยจะเห็น ฝุ่น PM2.5 ในอากาศได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นถึงคุณภาพอากาศที่แย่เอามาก ๆ ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของคน และแน่นอนว่ากระทบต่อสภาพโลกร้อน และความรุนแรงของภัยธรรมชาติ สิ่งที่สแกนเนียอยากเห็นต่อไปก็คือการผลักดันให้ประเทศไทยใช้มาตรฐานยูโร 6 ซึ่งเทคโนโลยีที่สูงขึ้นของสแกนเนียจะส่งผลให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพมากขึ้น ใช้เชื้อเพลิงน้อยลง ซึ่งเชื่อมโยงกับการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่น้อยลง และค่าเชื้อเพลิงที่ต่ำลง สิ่งสำคัญคือความพร้อมของผู้ผลิต และนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐ เช่นหลายประเทศใช้การลดภาษีสำหรับรถที่เป็นไปตามมาตรฐานใหม่ และการปลดระวางรถยนต์ที่มีอายุยาวนาน ตลอดจนสร้างกฎเกณฑ์ในการจำกัดการปล่อยมลพิษในบางพื้นที่ เช่น ในใจกลางเมือง แหล่งที่อยู่อาศัย แน่นอนว่าสแกนเนียดำเนินการพัฒนารถขนส่งระบบไฟฟ้า (BEV) มาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันสามารถบรรทุกสิ่งของได้มากขึ้น วิ่งงานได้ระยะทางไกลขึ้น เราจำเป็นต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีความยั่งยืนสำหรับผู้คนทั่วโลก” นายโจฮันกล่าว


ด้านนายณรงค์ฤทธิ์ อิทธิสารรณชัย ผู้จัดการฝ่ายสนับสนุนการขาย บริษัท สแกนเนีย สยาม จำกัด กล่าวเสริมว่า เครื่องยนต์มาตรฐานยูโร 5 เมื่อเทียบกับยูโร 3 ในปัจจุบัน จะสามารถช่วยลดมลภาวะในอากาศค่า PM ได้ต่ำกว่าเดิมถึง 10 เท่า และยังช่วยให้ประหยัดน้ำมันขึ้นอีกประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งส่งผลที่ดีทั้งต่อสิ่งแวดล้อม และต้นทุนของผู้ประกอบการอีกด้วย ทางสแกนเนีย สยาม เองมีความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงตามมาตรฐานยูโร 5 มานานแล้ว เพียงแต่ต้องการความชัดเจนจากภาครัฐถึงแผนการดำเนินการนโยบายดังกล่าว เพื่อวางแผนการผลิตรถสำหรับตลาดในประเทศไทย และยกระดับให้ธุรกิจขนส่งในประเทศเติบโตอย่างยั่งยืนอีกด้วย

Scania เป็นผู้ให้บริการชั้นนำระดับโลกด้านโซลูชั่นการขนส่ง ร่วมกับพันธมิตรและลูกค้าผลักดันการเปลี่ยนไปสู่ระบบการขนส่งที่ยั่งยืน Scania ก่อตั้งขึ้นในปีพ. ศ. 2434 มีสำนักงานในกว่า 100 ประเทศและมีพนักงาน 51,000 คน ทั่วโลก มีศูนย์วิจัยและพัฒนาในสวีเดน โดยมีสาขาในบราซิลและอินเดีย การผลิตจะเกิดขึ้นในยุโรปละตินอเมริกาและเอเชีย พร้อมศูนย์การผลิตระดับภูมิภาคในแอฟริกาเอเชียและยูเรเซีย Scania เป็นส่วนหนึ่งของ TRATON SE สำหรับการเยี่ยมชมข้อมูลเพิ่มเติม: www.scania.com

เกี่ยวกับ Scania ในประเทศไทย
ในประเทศไทย Scania เริ่มต้นด้วยการนำเข้ารถบรรทุกเพื่อจัดหน่าย โดยบริษัท โฟฟร้อนท์ (ประเทศไทย) จำกัด ในปี พ. ศ. 2529 และในปี 2543 บริษัท สแกนเนีย สยาม จำกัด ก่อตั้งขึ้นเป็นบริษัท ในเครือของ Scania ประเทศสวีเดน ในปี 2552 ได้ลงทุนในสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ในจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่ 16 ไร่ ดำเนินงานเป็นสำนักงานขายและศูนย์บริการหลังการขายที่ครบวงจร ขณะนี้เรามี 11 สาขาในประเทศไทย สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมดูได้ที่: www.scania.co.th


ไม่มีความคิดเห็น