Breaking News

วช. ร่วม สอศ.เดินหน้าขับเคลื่อนพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายอาชีวศึกษาด้วยวิจัยและนวัตกรรม รองรับโจทย์การพัฒนาของประเทศในอนาคต


สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) วางเป้าหมายพัฒนาศักยภาพนักประดิษฐ์สายอาชีวศึกษาของภาครัฐและเอกชน จากหลายร้อยสถาบันการศึกษาใน 4 ภูมิภาค เพื่อเพิ่มฐานความรู้ด้านเทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม ในการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์สู่การใช้ประโยชน์ และเพื่อระดมสมองแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมถึงการพัฒนารูปแบบและเนื้อหาการบ่มเพาะนักประดิษฐ์สายอาชีวศึกษา ให้สอดคล้องตามทิศทางการพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษาที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ และเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยมีบุคลากรระดับผู้บริหาร อาจารย์ สายอาชีวศึกษา ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เข้าร่วมประชุม จำนวน ๓๕๐ คน ในการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “Meet the Trainers : Invention & Innovation สายอาชีวศึกษา” ภายใต้แนวคิด Change for the Future อาชีวะก้าวไกล ด้วยวิจัยและนวัตกรรม ระหว่างวันที่ 29 – 30 กันยายน 2562 ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมมารวย การ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร



โดยมีศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิดและบรรยายพิเศษ เรื่อง “พัฒนากำลังคน 4.0 ด้วยวิจัยและนวัตกรรม” ประเด็นสำคัญคือมุ่งนำกำลังคนที่ผ่านการบ่มเพาะไปขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG ที่เป็นทิศทางสำหรับปี 2563 ได้แก่ B-Biotechnology เทคโนโลยีชีวภาพ C-Circular Economy เศรษฐกิจหมุนเวียนและ G- Green Economy เศรษฐกิจสีเขียว


พร้อมนี้ การประชุมในวันแรกมีหัวข้อการบรรยายและเสวนาที่น่าสนใจ ประกอบด้วยเรื่อง “อาชีวะพันธุ์ใหม่ ก้าวสู่ Thailand 4.0” “การใช้วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนากำลังคนตามนโยบายของประเทศ : Thailand 4.0 และเขตเศรษฐกิจพิเศษ”และ “นักประดิษฐ์ไทยก้าวไกล  เพื่อการพัฒนากำลังคนและนวัตกรรมที่ยั่งยืน” โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐและภาคเอกชน ร่วมเป็นวิทยากร เพื่อชี้ทิศทางการพัฒนากำลังคนบนทิศทาง BCG และฐานการประดิษฐ์คิดค้นและการพัฒนานวัตกรรม ในหัวข้อข้างต้น ได้แก่ นางเจิดฤดี  ชินเวโรจน์ ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาธุรกิจและบริการ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, นายสุวัฒน์ มีมุข  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สถาบันนวัตกรรมและบ่มเพาะธุรกิจ (BIIC)บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), ศ.นพ.อภิชาติ  อัศวมงคลกุล รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, ศ.ดร.สนอง  เอกสิทธิ์ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยอุปกรณ์รับรู้ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, นายสาธิต  ครองสัตย์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.), นายพีรชัย อัศดาชาตรีกุล Business Development Manager บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), ศ.ดร.ผดุงศักดิ์  รัตนเดโช ผู้อำนวยการ Center of Excellence in electromagnetic Energy Utilization in Engineering (CEEE) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผศ.ดร.วารุณี  อริยวิริยะนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี




ไม่มีความคิดเห็น