Breaking News

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล ร่วมกับ สสส. เปิด “รายงานสุขภาพคนไทย 2567”

พบคนไทยหันมาใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสุขภาพมากขึ้น วัยเรียนใช้อินเทอร์เน็ตไปกับสื่อ Social มากที่สุด–พนันออนไลน์ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ระบาดหนักและขาดมาตรการที่ชัดเจน ส่งผลกระทบต่อเยาวชนไทยโดยตรง รวมไปถึงประเด็นความเครียดที่พบในทุกช่วงวัย


วันที่ 14 มิถุนายน 2567 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล จัดการประชุม ‘ฟอรั่มรายงานสุขภาพคนไทย ปี 2567’
ณ ห้องประชุม 201 สสส. เพื่อนำเสนอและแลกเปลี่ยนข้อมูล/สถิติสำคัญด้านสุขภาพกับ สสส. และภาคี โดยมีเรื่องพิเศษประจำฉบับ ปีนี้ คือ “ความเครียด ภัยเงียบของสังคมคนไทย” รับกับสถานการณ์ความเครียดหลังโควิด-19 และภัยร้ายจากความเครียดที่แนวโน้มดูจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ และสร้างผลกระทบทางสังคมอย่างมากต่อคนไทย

การประชุมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.ณัฐพันธุ์ ศุภกา: ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ (สภส.) และรักษาการผู้อำนวยการสำนักวิชาการและนวัตกรรม, สสส. กล่าววัตถุประสงค์การจัดงาน, ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการ สสส. กล่าวเปิดการประชุม, รศ.ดร.เฉลิมพล แจ่มจันทร์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม และในฐานะหัวหน้าโครงการรายงานสุขภาพคนไทย ปี 2567 กล่าวแนะนำรายงานสุขภาพคนไทย

ดร.ณัฐพันธุ์ ศุภกา: ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ (สภส.) และรักษาการผู้อำนวยการสำนักวิชาการและนวัตกรรม, สสส.

หมวดตัวชี้วัด 2567 นำเสนอสถิติน่าสนใจ ในประเด็น “เทคโนโลยีดิจิทัลกับสุขภาพคนไทย” ทั้งหมด11 ตัวชี้วัด ครอบคลุมการใช้เทคโนโลยีในวิถีชีวิตของคนไทย ทางด้านสุขภาพ สาธารณสุข และด้านการศึกษา รวมไปถึงการใช้ส่งเสริมสุขภาพคนไทย ซึ่งสะท้อนว่าเทคโนโลยีดิจิทัลถูกนำมาใช้ในทุกมิติในการดำเนินชีวิตยุคปัจจุบัน หมวดตัวชี้วัด แสดงให้เห็นความสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือ ข้อมูลสำคัญ พบว่า พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตที่เข้ามามีบทบาทกับวิถีชีวิตของคนไทยทุกกลุ่มวัยเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ ระบบสาธารณสุข การรับบริการออนไลน์ทางด้านสุขภาพ และการบริการทางข้อมูลสุขภาพ รวมไปถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในวิถีชีวิตการทำงานรูปแบบ Work from home ในขณะที่การใช้เทคโนโลยีกับการศึกษา ควรส่งเสริมการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของโรงเรียนในแต่ละภูมิภาค ในขณะเดียวกันก็ควรจับตาพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต ของเด็กวัยเรียนไทยที่มีสัดส่วนใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่ที่ต้องเฝ้าระวังคือกลุ่มประถมศึกษาอายุ 6-11 ปี ที่มีสัดส่วนผู้ใช้เพิ่มขึ้นอย่างมาก จากร้อยละ 59.5 ในปี 2561 เป็นร้อยละ 59.6 ในปี 2565 แต่มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการเรียนรู้มีไม่ถึง 1 ใน 5 ในขณะการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของคนทุกกลุ่มวัยที่ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์เกือบทุกวัน มีเวลาเฉลี่ยใช้อินเทอร์เน็ต 7 ชั่วโมง 4 นาทีต่อวัน และ ข้อมูลจากศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน พบ เยาวชนเกือบ 9 ใน 10 เคยเห็นโฆษณา /ได้รับเชิญชวนเล่นพนันออนไลน์ ในจำนวนนี้เกือบครึ่ง เกิดความรู้สึกอยากลองเล่น

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการ สสส.

ในส่วน 10 สถานการณ์เด่นปีนี้ นำเสนอประเด็นที่อยู่ในความสนใจของสังคม ได้แก่ 1.การกราดยิงกับแนวทางการควบคุุมอาวุุธปืน 2.ปัญหาแพทย์ลาออก ควรดำเนินการอย่างไร 3. สองทศวรรษของบัตรทอง: การขยายสิทธิประโยชน์แบบจัดหนัก จัดเต็ม 4.การพนันออนไลน์ กับดักเยาวชนและคนหนุ่มสาว 5.เกิดแล้วเกิดอีก อุบัติเหตุจากโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ 6. มาเฟียข้ามชาติิกัับการแก้้ไขปัญหา7. แรงงานไทยในตะวันออกกลาง ทางสองแพร่งระหว่าง ความมั่งคั่ง กับ ความมั่นคงในชีวิต 8.มลพิษทางอากาศคร่าชีวิตคนไทย 3 หมื่นคนต่อปี ถึงเวลาทวงสิทธิอากาศสะอาด 9. การถ่ายโอน รพ.สต. ไป อบจง ความเป็นมา ปัญหาความท้าทาย 10.ธรรมนูญสุขภาพฉบับที่ 3 มุ่งสู่ระบบสุขภาพที่เป็นธรรม สำหรับ 4 ผลงานดี ๆ เพื่อสุขภาพคนไทยปีนี้ ได้แก่ 1.นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ วีรบุรุษสาธารณสุขของโลก 2. องค์การอนามัยโลกยกย่อง ศ.พิเศษ นายแพทย์วิชัย เทียนถาวร 3.เครือข่ายกองทุนสุขภาพนานาชาติ ประกาศปฏิญญากรุงเทพ มุ่งสู่สุขภาวะที่เป็นธรรม และ 4. กรมอนามัย จับมือ ผู้ค้าออนไลน์ส่งเมนูชูสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม


รศ.ดร.เฉลิมพล แจ่มจันทร์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม และหัวหน้าโครงการรายงานสุขภาพคนไทย ปี 2567

โดยในรายงานสุขภาพคนไทย ปี 2567 นำเสนอเรื่องพิเศษ คือ ความเครียด ภัยเงียบของสังคมไทย นำเสนอนิยามของความเครียด สาเหตุความเครียด ผลกระทบที่ส่งต่อสุขภาพของคนแต่ละกลุ่มวัย และรวมไปถึงวิธีการรับมือ วิธีการจัดการกับความเครียด ติดตามอ่านหนังสือรายงานสุขภาพคนไทยและบทความได้ที่ www.thaihealthreport.com


ไม่มีความคิดเห็น